พระราชพงสาวดารกรุงเก่า (ฉบับหลวงประเสิด)/ผู้วายชนม์
- พันเอก พร้อม มิตรภักดี
- ไนเครื่องแบบเสวกเอกกรมพระอัสวราช
- พันเอก พร้อม มิตรภักดี
- กับพันตรี หลวงทัสนัยนิยมสึก
- พันเอก พร้อม มิตรภักดี และครอบครัว
- นายบริบูรน์ มิตรภักดี, พ้นเอก พร้อม มิตรภักดี,
- พันเอก เชย พันธ์จเริน, นางประไพพิส เกตุรายนาก,
- คุนหยิงเจิม มิตรภักด, พันตรี หลวงทัสนัยนิยมสึก
- พันเอก พร้อม มิตรภักดี
- ไนเครื่องเต็มยสเมื่อรับราชการไนกองข้าหลวงต่างพระองค์
- สำเหร็ดราชการเมืองอุดร
พันเอก พร้อม มิตรภักดี เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม พุทธสักราช 2415 ตรงกับวันพุธ แรม 9 ค่ำ เดือนยี่ ปีวอก.
พระยามหานัทีสรีบรรพตภูมิพิทักส์ (จั่น) จางวางเมืองนครสวรรค์ เปนบิดา คุนหยิงมหานัทีสรีบรรพตภูมิพิทักส์ (เจิม) เปนมารดา พระยาไกรเพชรรัตนสงครามภักดีพิริยะพาหะ (มิตร) เปนปู่ พันเอก พร้อม จึงได้เลือกนาม "มิตรภักดี" เปนนามสกุล.
เมื่ออายุ 13 ปี ได้สึกสาวิชาหนังสือไทยนะสำนักโรงเรียนวัดเลไลย จังหวัดนครสวรรค์ สึกสาหยู่ประมาน 4 ปี ตามหลักสูตรไนเวลานั้น แล้วลาออกจากโรงเรียน เข้ารับราชการเปนเสมียนกรมกลาง กะซวงวัง ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 15 บาท เมื่อ พ.ส. 2433.
พ.ส. 2434 ย้ายไปเปนเสมียนไนกองข้าหลวงต่างพระองค์มนทลอุดร ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 20 บาท.
ครั้นถึงเดือนกันยายน พ.ส. 2435 ได้ทำการสมรสกับนางสาวเจิม บุตรีหลวงพรหมสัสดี (ภู่) และนางพรหมสัสดี (ขาว) ซึ่งมีเคหะสถานหยู่ไนเมืองจังหวัดพระนครสรีอยุธยา.
พ.ส. 2436 (ร.ส. 112) ทำหน้าที่แพทย์ไนกองข้าหลวงต่างพระองค์มนทลอุดร ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 40 บาท.
พ.ส. 2441 เลื่อนขึ้นเปนผู้ช่วยข้าหลวงคลังมนทลอุดร ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 100 บาท และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบันดาสักดิ์เปนขุนผจงสรรพกิจ แล้วเลื่อนขึ้นเปนหลวงผจงสรรพกิจไน พ.ส. 2442.
พ.ส. 2443 ย้ายไปเปนเสมียนตรากะซวงกลาโหม รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 200 บาท.
พ.ส. 2447 เลื่อนตำแหน่งขึ้นเปนปลัดบัญชีกะซวงกลาโหม ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 300 บาท และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบันดาสักดิ์เปนพระนรินทร์ราชเสนี ไนปีเดียวกันนี้ (ได้ดำรงตำแหน่งปลัดบัญชีกะซวงกลาโหมตลอดมา และได้รับพระราชทานเงินเดือนเพิ่มปีละ 20 บาททุกปีจนเต็มขั้น 400 บาทไน พ.ส. 2452).
พ.ส. 2451 รับพระราชทานสัญญาบัตรบันดาสักดิ์เปนพระยานรินทร์ราชเสนี (เมื่อได้มีประกาสยกเลิกบันดาสักดิ์ไน พ.ส. 2485 แล้ว พันเอก พร้อม มิตรภักดี ได้ไช้นามตัวและนามสกุลเดิม).
พ.ส. 2453 ย้ายไปเปนผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกะซวงกลาโหม.
พ.ส. 2454 ย้ายไปเปนผู้รั้งเจ้ากรมสัสดี และได้รับยสเปนว่าที่พันเอก และต่อมาไนปีเดียวกันนี้ ได้เปนเจ้ากรมสัสดี คงได้รับพระราชทานเงินเดือนไนอัตราพันเอกชั้น 1 ไนเวลานั้น เดือนละ 400 บาท.
พ.ส. 2455 รับพระราชทานสัญญาบัตรยสทหานเปนพันเอก ต่อมาไนปีเดียวกันนี้ ได้ย้ายไปสำรองราชการกรมพระคชบาลทหานบก แล้วย้ายไปเปนผู้ช่วยอธิบดีกรมแสงสรรพาวุธ.
พ.ส. 2459 รับพระราชทานเงินเดือนไนอัตราพันเอก ชั้น 2 เดือนละ 550 บาท.
พ.ส. 2460 พันเอก พร้อม มิตรภักดี ได้ทำรายงานยื่นต่อกะซวงกลาโหมว่า การงานไนหน้าที่ผู้ช่วยอธิบดีกรมแสงสรรพาวุธมีน้อย ขอไห้เพิ่มงานขึ้น หรือย้าย หรือไห้ออกจากประจำการ กะซวงกลาโหมได้สอบสวนเห็นว่า มีงานน้อยจิง ซึ่งควนเลิกตำแหน่งดั่งกล่าว จึงอนุญาตไห้พันเอก พร้อม มิตรภักดี ออกจากประจำการตามคำสั่งประกาสทหานบก ฉบับที่ 137/12375 พ.ส. 2460 กับตามรายงานพันเอก พร้อม มิตรภักดี ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ส. 2460 พันเอก พร้อม มิตรภักดี จึงเปนนายทหานกองหนุนเบี้ยหวัดสังกัดกรมแสงสรรพาวุธ.
พ.ส. 2463 ซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ ไห้กลับเข้ารับราชการไนกรมบัญชาการพระอัสวราช รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 300 บาท.
พ.ส. 2464 ซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ ไห้เปนปลัดบัญชาการกรมพระอัสวราช และได้รับพระราชทานยสไห้เปนหัวหมื่น ไนปีนี้ ส่วนการทหานนั้น เนื่องแต่ได้กลับเข้ารับราชการเปนปลัดบัญชาการกรมพระอัสวราช กะซวงกลาโหมจึงได้ออกคำสั่งไห้เปนนายทหานกองหนุน ไม่มีเบี้ยหวัดเบี้ยบำนาญ สังกัดกรมแสงสรรพาวุธ.
พ.ส. 2466 รับพระราชทานเงินเดือนเพิ่มขึ้นเปนเดือนละ 330 บาท.
พ.ส. 2468 ได้ออกจากราชการ รับพระราชทานบำนาญเดือนละ 176 บาท 75 สตางค์.
ไนส่วนสังกัดราชการทางกะซวงกลาโหมนั้น ได้ย้ายมาหยู่ไหนสังกัดกรมพลาธิการทหานบกไน พ.ส. 2470 ครั้นถึง พ.ส. 2471 อายุเกินกำหนดประเภทนายทหานกองหนุน จึงเปนนายทหานนอกราชการ คงสังกัดกรมพลาธิการทหานบก แล้วเปลี่ยนจากสังกัดเดิมมาสังกัดกองบังคับการจังหวัดทหานบกกรุงเทพฯ ไน พ.ส. 2478 ครั้นถึงวันที่ 1 เมสายน พ.ส. 2476 เปนนายทหานพ้นราชการทหานเพราะอายุพ้นกำหนดนายทหานนอกราชการแล้ว.
พันเอก พร้อม มิตรภักดี ได้ไปราชการทัพโดยตามสเด็ดพระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมหลวงประจักส์สิลปาคม เมื่อเปนข้าหลวงต่างพระองค์สำเหร็ดราชการเมืองอุดร ซึ่งขนะนั้น ได้มีกรนีพิพาทกับฝรั่งเสสเรื่องเขตแดน.
นอกจากราชการประจำและราชการทัพแล้ว พันเอก พร้อม มิตรภักดี ได้ปติบัติราชการพิเสส คือ
1.เปนข้าหลวงพิเสสตัดสินปักปันเขตแดนเมืองสกลนคร เมืองนครพนม เมืองมุกดาหาร และทำแผนที่บริเวนเมืองเหล่านี้.
2.เปนข้าหลวงพิเสสไปรับข้าหลวงฝรั่งเสสซึ่งสำเหร็ดราชการฝ่ายแม่น้ำโขงนะที่เมืองเวียงจันทน์
3.ได้เปนผู้รักสาพยาบาลคนป่วยไข้ที่ก่อนเข้ามากองทัพไน พ.ส. 2436 (ร.ส. 112) และเมื่อรักสาพยาบาลหายแล้ว ก็ส่งคนหายป่วยเข้าประจำกองทัพทางแก่งเจ๊กและนะเมืองหล่มสักดิ์.
4.ได้ตรวดราชการทางแม่น้ำโขงและทำหน้าที่สื่อสารด้วยราชการสำคันต่าง ๆ ระหว่างกรุงเทพฯ กับมนทลอุดรหลายครั้ง.
5.ได้ทำแผนที่ตั้งแต่จังหวัดสระบุรีผ่านดงพระยากลางจนถึงจังหวัดหนองคาย.
6.ได้ทำการแทนปลัดทูลฉลองกะซวงกลาโหม 4 ครั้ง.
พันเอก พร้อม มิตรภักดี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรน์ ดั่งต่อไปนี้
1. | พ.ส. 2436 | เหรียนรัชดาภิเสก | ||
2. | พ.ส. 2437 | เหรียนจักรพัดิมาลา | ||
3. | พ.ส. 2441 | เหรียนประพาสมาลา | ||
4. | พ.ส. 2444 | ตรามงกุดสยาม ชั้นที่ 5 | ||
5. | พ.ส. 2446 | เหรียนทวีธาภิเสก | ||
6. | พ.ส. 2450 | เหรียนรัชมงคล | ||
7. | พ.ส. 2451 | เหรียนรัชมังคลา | ||
8. | พ.ส. 2452 | เหรียนบุสปมาลา | ||
9. | พ.ส. 2354 | เสมา ส.ผ. ทองคำลงยาประดับเพชร | ||
10. | พ.ส. 2454 | เหรียนบรมราชาภิเสก | ||
11. | พ.ส. 2456 | ตราช้างเผือก ชั้นที่ 4 | ||
12. | พ.ส. 2458 | เสมาทองคำมีอักสรพระบรมนามาภิธัยย่อ ว.ป.ร. ลงยา ชั้น 3 | ||
13. | พ.ส. 2459 | เข็มข้าหลวงเดิม | ||
14. | พ.ส. 2459 | ตรามงกุดสยาม ชั้นที่ 3 | ||
15. | พ.ส. 2466 | ตราช้างเผือก ชั้นที่ 3 | ||
16. | พ.ส. 2468 | เข็มอักสรพระบรมนามาภิธัยย่อ ร.ร.6 ชั้น 2 | ||
17. | พ.ส. 2468 | เหรียนบรมราชาภิเสก (เงิน) | ||
18. | พ.ส. 2475 | เหรียนเฉลิมพระนคร 150 ปี เงิน |
พันเอก พร้อม มิตรภักดี ได้มีบุตรและธิดาดั่งต่อไปนี้
1. | เด็กชาย ไม่ปรากตนาม (ถึงแก่กัม) | |
2. | นายบริบูรน์ มิตรภักดี | |
3. | ด.ย.พูนสวัสดิ์ มิตรภักดี (ถึงแก่กัม) | |
4. | พันตรี หลวงทัสนัยนิยมสึก (ทัสนัย มิตรภักดี) (ถึงแก่กัม) | |
5. | นางประไพพิส เกตุรายนาก | |
6. | พันโท สวัสดิ์ สวัสดิ์รนภักดิ์ | |
7. | นางอัมพร ภุมโรดม | |
8. | ด.ย.พจนา มิตรภักดี | |
9. | ด.ช.พาที มิตรภักดี |
พันเอก พร้อม มิตรภักดี ได้ป่วยเปนโรคอำมะพาธมาหลายปี ภรรยาและบุตรธิดาได้ช่วยกันหาแพทย์มารักสา และได้ช่วยพยาบาล อาการมีแต่ซงกับซุดตลอดมา ได้ถึงแก่กัมเมื่อวันที่ 7 กรกดาคม พ.ส. 2486 นะบ้านเลขที่ 547 ถนนเพชรบุรี จังหวัดพระนคร
เพื่อเปนอนุสรน์แก่พันตรี หลวงทัสนัยนิยมสึก ซึ่งได้ทำความชอบแก่ประเทสชาติโดยเปนหัวหน้าไนการเปลี่ยนแปลงการปกครองขอพระราชทานรัถธัมนูญผู้หนึ่ง จึงได้ซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบทองลายสลักและเครื่องยสประกอบสพแก่พันเอก พร้อม มิตรภักดี.