ข้ามไปเนื้อหา

พระราชพงสาวดารกรุงเก่า (ฉบับหลวงประเสิด)/คำอธิบาย

จาก วิกิซอร์ซ
คำอธิบาย

หนังสือพงสาวดารฉบับนี้ หลวงประเสิดอักสรนิติ (แพ ปเรียญ) ไปได้มาจากบ้านราสดรแห่งหนึ่ง เอามาให้แก่หอสมุดวชิรญาณเมื่อนะวันที่ 19 มิถุนายน ร.ส. 126.

ได้อ่านดูหนังสือพงสาวดารฉบับนี้ ได้ความว่า เรียบเรียงไว้แต่เมื่อจุลสักราช 1042 ไนแผ่นดินพระนารายน์ ข้อความคล้ายกับพงสาวดารย่อตอนต้นฉบับกรมสมเด็ดพระปรมานุชิตชิโนรส แต่ฉบับนี้มีข้อความแปลกและต่างไปหลายแห่ง บางแห่งเห็นว่า เปนหลักถานจะถูกต้องดีกว่าพงสาวดารฉบับอื่นที่ได้เห็นแล้ว ยกตัวอย่างดังตอนแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ พงสาวดารฉบับอื่นว่า เสวยราชสมบัติหยู่นะกรุงเก่า ซงสร้างวิหารวัดจุลามนี แล้วสเด็ดออกซงผนวชหยู่ที่วัดนั้น 8 เดือน จึงลาผนวช ความข้อนี้ ได้ค้นคว้าหาวัดจุลามนีไนกรุงเก่ากันนักแล้ว ยังไม่ได้ความว่า วัดจุลามนีหยู่ที่ไหนจนทุกวันนี้ มาได้ความตามพงสาวดารฉบับนี้ว่า พระบรมไตรโลกนาถสเด็ดขึ้นไปครองราชสมบัติหยู่นะเมืองพิสนุโลก สร้างวิหารวัดจุลามนีที่นั่น ซงผนวชที่นั่น และสวรรคตที่นั่น วัดจุลามนีที่เมืองพิสนุโลกมีจริง ๆ ด้วย จึงเห็นว่า เปนหลักถานหยู่อย่างหนึ่ง ยังอิกแห่งหนึ่งซึ่งควนจะสังเกตไนเรื่องศึกพระเจ้าหงษาวดีครั้งแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ พงสาวดารฉบับอื่นไม่มีพระนามพระเจ้าหงสาวดี ทำไห้เข้าไจว่า พระเจ้าหงสาวดีที่มาตีกรุงเก่า คือ พระเจ้าหงสาวดีลิ้นดำพระองค์เดียว แต่ความไนพงสาวดารพะม่าเขาว่า 2 พระองค์ พงสาวดารฉบับนี้มีพระนามพระเจ้าหงสาวดีปรากตเปน 2 พระองค์ตรงกับพงสาวดารพะม่า แปลกกับฉบับอื่น ๆ ไนข้อนี้ด้วย และยังมีที่แปลกอีกหลายแห่ง.

หนังสือพงสาวดารฉบับนี้เปนสมุดไทย เขียนตัวรง ลายมือเขียนหนังสือดูเหมือนจะเปนฝีมือครั้งกรุงเก่าตอนปลายหรือครั้งแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร ของเดิมเห็นจะเปน 2 เล่มจบ แต่ได้มาแต่เล่ม 1 เล่มเดียว.

กัมการหอสมุดวชิรญานเห็นว่า หนังสือพงสาวดารฉบับนี้ เมื่อได้ตรวดพิจารนาดูแล้ว ทั้งลายมือที่เขียนและโวหารที่แต่ง เห็นว่า เปนหนังสือเก่า ไม่มีเหตุหย่างไดจะควนสงไสยว่า ได้มีผู้แก้ไขแซกแซงไห้วิปลาสไนชั้นหลังนี้ จึงได้สั่งไห้ลงพิมพ์ไว้ไห้ปรากต ป้องกันมิไห้หนังสือเรื่องนี้สาบสูญไปเสีย ไนการที่พิมพ์นั้น แห่งไดหนังสือไนต้นฉบับเส้นรงเลือนพอสังเกตเห็นตัวหนังสือได้ก็ดี ที่สังเกตเห็นไม่ได้ทีเดียวก็มีบ้างแห่ง ได้วงเล็บมือไว้เปนสำคันไนที่ตัวหนังสือลบเลือนนั้นทุก ๆ แห่ง.


วันที่ 26 สิงหาคม ร.ส. 126
ดำรงราชานุภาพ