ลักษณกฎหมายระหว่างประเทศโดยย่อ/ส่วนที่ 2

จาก วิกิซอร์ซ

 มีข้อเถียงว่า ก่อนที่เปนศึกสงครามกันนั้น จะต้องออกประกาศว่าเปนศึกสงครามฤๅไม่ จะพูดเอาเปนแน่นอนไม่ได้ เพราะบางทีก็ได้ทำ บางทีก็ไม่ได้ทำ เมื่อครั้งโบราณ เขาส่งคนไปท้ากันก่อน แต่ในสมัยนี้ แม้ว่าจะมีประกาศกันแล้ว ก็มีภายหลังที่ได้ต่อสู้กัน เปนต้นคือ เมื่อยี่ปุ่นกับจีนรบกัน ยี่ปุ่นได้ยิงเรือเกาชิงล่มเสียก่อนที่ตัวได้ประกาศ

แต่เมื่อปี ๑๘๗๐ เมื่อฝรั่งเศสกับเยอรมันรบกันนั้น ฝรั่งเศสได้มีหนังสือบอกไปยังเยอรมันว่า จะรบ

 เมื่อประเทศ ๒ ประเทศได้เกิดรบกันขึ้นแล้ว สัญญาระหว่างกันต้องอยุดไปในระหว่างนั้น

 แลดูเปนตกลงว่า เมื่อเปนศึกสงครามกันแล้ว ประเทศหนึ่งประเทศใดไม่มีอำนาจที่จะกักขังราษฎรต่างประเทศไว้ได้ ควรต้องประกาศบอกให้เขามีเวลาที่จะไปเสีย แม้เขาจะอยู่ในเมืองแล้ว ต้องประพฤติกิริยาอันสมควร ในเวลาศึกสงคราม ต้องทำร้ายแก่กันได้แต่ผู้ซึ่งได้ต่อสู้ฤๅช่วยต่อสู้ แลราษฎรซึ่งไม่ได้เปนทหาร อยู่ดี ๆ จะทำร้ายไม่ได้

 แลมีสัญญาระหว่างนา ๆ ประเทศอย่างหนึ่งที่ลงชื่อกันที่เมืองเยนีเวอร์ซึ่งเมืองไทยได้เข้าเมื่อ / ปีนี้ มีข้อสัญญาว่า ในระหว่างศึก จะมีหมอรักษาผู้ซึ่งเจ็บปวด ไม่ว่าคนของตัวฤๅคนของสัตรู แลทั้ง ๒ ฝ่ายจะไม่ทำร้ายแก่หมอแลผู้พยาบาล

(๕) เมื่อจับทหารของสัตรูได้แล้ว เราไม่มีอำนาจที่จะฆ่าเสียเฉย ๆ โดยที่เขาไม่ได้หนีฤๅไม่ได้ทำร้ายอะไร แต่อาจจะขังไว้ได้ ฤๅปล่อยให้ทำสัญญาไว้ เรียก ปาโรล สัญญาด้วยปากก็ได้ เมื่อได้มารบอิกแล้ว เรามีอำนาจที่จะทำโทษ ซึ่งจะเอาสัตรูมาเปนทาษชะเลยนั้น ไม่มีอย่างธรรมเนียมแล้ว แต่ฝ่ายโน้นขอไถ่ดูเหมือนจะได้

(๖) แลกเปลี่ยนคนชะเลยแก่กันยังมีอยู่ สัญญาแลกเปลี่ยนเรียกว่า คาเตล แลดูเปนธรรมเนียมกันว่า คนที่แลกเปลี่ยนกันนี้ไปรบอิกไม่ได้

(๗) เมื่อคนซึ่งไม่ได้เปนทหารของรัฐบาล ไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลที่จะรบ ไปรบแล้ว ฝ่ายโน้นเขามีอำนาจที่จะทำโทษได้ คือ เมื่อปี ๑๘๗๐ ฝรั่งเศสกับเยอรมันรบกัน เยอรมันออกประกาศว่า ผู้ที่ได้แต่งตัวเปนสำคัญ จับตัวได้แล้ว จะฆ่าเสียให้หมด

(๑) ทรัพย์ของรัฐบาลซึ่งเคลื่อนได้นั้น สัตรูเอาได้ แต่ทรัพยซึ่งยังจะต้องฟ้องร้อง (คือ หนี้) เอาไม่ได้ แลทรัพย์ซึ่งเคลื่อนที่ไม่ได้ จะเอาไปขายไม่ได้ แต่สำนวนหนังสือนั้น ถึงเคลื่อนที่ได้ ก็เอาไม่ได้ เว้นไว้แต่ว่าด้วยเรื่องที่ได้รบกัน

แลหนังสือก็ดี สิ่งของก็ดี ซึ่งอยู่ในมิวเซียมอันเปนเครื่องประดับเมือง จะเปนรูปก็ดี ตุกกระตาก็ดี เอาไม่ได้ มีตัวอย่างว่า เมื่อปี ๑๘๑๕ เมื่อฝรั่งเศสแพ้ทัพ เขาบังคับให้คืนของนี้ให้หมดซึ่งตัวได้ไว้แต่ก่อน

(๒) ทรัพย์ของราษฎรนั้น จะริบเอาไม่ได้ แต่ข้าศึกมีอำนาจที่จะเกณฑ์เสบียงสัตว์พาหนะแลช่วยถางถนนได้ ข้าศึกมีอำนาจที่จะตีราคาได้ แลให้ใบเสร็จไว้เพื่อที่จะไม่ให้ไปเกณฑ์เอาอิกฤๅเพื่อที่จะได้ไปขึ้นเงินเอาแก่ผู้แพ้ศึก

(๓) ข้าศึกไม่มีอำนาจที่จะทำร้ายแก่ทรัพย์สมบัติ เว้นไว้แต่จำเปนในการศึกนั้นแท้ แต่ที่กล่าวมานี้เปนแต่ว่าด้วยเรื่องทรัพย์สมบัติบนที่ดิน

เมื่อปี ๑๘๘๒ แอดมิราลโอบเขียนหนังสือว่า เมื่อรบกันแล้ว ควรจะต้องส่งเรือรบไปบอมบาด (คือ ยิงระดม) เมืองชายทะเล ข้อนี้เถึยงกันมาก เพราะเหตุว่า จะทำร้ายแก่ทรัพย์สมบัติของราษฎรเปล่า ๆ แต่เมื่อมีศึกขึ้นจริงแล้ว คงทำเปนแน่

ทรัพย์สมบัติของราษฎรซึ่งอยู่ในทเล คือ เรือแลสินค้า ต่างคนต่างริบเอาได้

ทรัพย์สมบัติของคนในบังคับของนิวแตลซึ่งอยู่ในเมืองสัตรู เมื่อมีการจำเปนในการสงครามแล้ว เขาเอามาใช้ได้ อำนาจอันชอบธรรมนี้เรียกว่า แองการี

 ซึ่งจะเรียกว่า ผู้ใดเปนทหารซึ่งจะฟันจะยิงได้นั้น คือ

 (๑) ต้องได้อำนาจจากรัฐบาลของตัว

 (๒) ต้องอยู่ในบังคับบัญชาของนายซึ่งตั้งขึ้น แลต้องแต่งตัวเปนสำคัญ

 สาตราวุธที่ใช้ได้นั้น คือ สาตราวุธซึ่งไม่ทำให้คนเจ็บปวดฤๅตายเกินเหตุเกินการโดยที่ไม่มีประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แลได้ตกลงกันที่เมืองรัสเซียเมื่อปี ๑๘๖๘ ว่า เมื่อลูกปืนไม่หนักถึง ๑๔ บาทแล้ว จะไม่ให้เปนลูกแตกได้

 อิกอย่างหนึ่ง เรียก ไปรเวตเตีย คือ เรือคนธรรมดาขอรับอนุญาตจากรัฐบาลของตัวจะไปจับเรือสัตรูมาแล้วเอาเสียเปนสลัดกลาย ๆ ได้ตกลงกันที่เมืองปารีศเมื่อปี ๑๘๕๖ ในระหว่างนา ๆ ประเทศไม่ให้มี (เว้นไว้แต่อเมริกากับสเปน) จะไม่ยอมให้ใครรับอนุญาตเปนไปรเวตเตียอิกต่อไป เพราะเหตุฉนี้ ในระหว่างประเทศซึ่งได้ลงชื่อแล้ว ใครเอาเรือออกไปทำโจรกรรม เขาฆ่าเสียได้อย่างสลักด เมื่อปี ๑๘๗๐ ฝรั่งเศสกับเยอรมันรบกัน เยอรมันได้มีทหารเรือวอลันเตียซึ่งแต่งตัวอย่างทหาร, ฝรั่งเศสร้องต่ออังกฤษให้ช่วย, หาว่า เยอรมันทำผิดสัญญา ให้มีไปรเวตเตียขึ้น อังกฤษไม่ได้ช่วย กล่าวว่า วอลันเตียกับไปรเวตเตียนั้นผิดกัน (ดูเหมือนว่า จะผิดกันด้วยวอลันเตียจับเรือได้แล้วเปนของรัฐบาล แลรวมอยู่ในบังคับบัญชาแม่ทัพด้วย)

 ตามธรรมดากลศึกแล้ว ยอมให้ทำในเวลาที่รบกันเพื่อที่จะฬ่อเอาไชยชนะ แต่อย่าให้ถึงเปนกลอุบายของรัฐบาล แลกลอุบายในเรื่องธงขาวก็ดี แลธงกางเขนแดงก็ดี อย่าให้หลอกกัน

คนสอดแนมนั้น จับได้ เขามีอำนาจฆ่าได้ เพราะใช้กลอุบาย

ธงขาวนั้น คือ ใช้กันเมื่อเวลาจะพูดกัน มีคนถือกลองฤๅถือแตรมาคนหนึ่ง ตามธรรมดา ๓ คน เมื่อสัตรูถือธงขาวมาหาเรา จะพูดกับเราแล้ว เราไม่จำเปนที่จะพูดด้วย แต่ไม่ควรทำร้ายแก่เขา เมื่อได้สัญญาจะราทัพกันทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว เว้นไว้แต่จะมีความเข้าใจกันนอกจากนี้ รบได้ถึงเพียงใด ให้หยุดอยู่แต่เพียงนั้น แลทัพของฝ่ายหนึ่งซึ่งอยู่ไกลจะทราบว่ามีสัญญาราทัพแก่กันไม่ได้ในทันที ต้องหยุดทัพเมื่อเวลาทราบข่าว แต่ไม่ต้องถอยหลัง นายทหารต่ำ ๆ มีอำนาจที่จะทำสัญญาราทัพเล็กน้อยเพื่อที่จะฝังศพเปนต้น แต่เมื่อจะราทัพทั้งหมดแล้ว นายทัพใหญ่มีอำนาจทำได้

คาเตลนั้น แปลว่า สัญญาในระหว่างศึก ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องแลกเปลี่ยน มีอิกอย่างหนึ่ง คาเตลนั้น คือ เมื่อจะรบกันแล้ว สัญญากะทางที่จะส่งหนังสือฤๅที่จะพูดกัน เพราะเหตุฉนี้ เรือคาเตลนั้น แปลว่า เรือซึ่งจะถือหนังสือให้กัน

เมื่อหยุดทัพแล้ว ตามธรรมดาเปนไมตรีใหม่ แลสัญญาเดิมนั้นกลับเปนสัญญาใหม่ เว้นไว้แต่จะได้ตกลงอย่างอื่น

แลตามที่ได้กล่าวแล้วนี้ สัญญาต้องมีแรติไฟรับรองอิกชั้นหนึ่ง แต่ก่อนที่ได้แรติไฟนั้นต้องนับว่า ราทัพ แลเมื่อทัพอยู่ไกล จะทราบข่าวไม่ได้ทันที ต้องราทัพเมื่อเวลารู้ข่าว