ลักษณกฎหมายระหว่างประเทศโดยย่อ/ส่วนที่ 3

จาก วิกิซอร์ซ
ส่วนที่ ๓ ว่าด้วยเรื่องนิวแตลหรือคนกลาง
หมวดที่ ๑๙
ว่าด้วยนิวแตล

ตามที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อก่อนรบกัน ไม่จำเปนที่จะต้องบอกให้กันรู้ แต่ตามไมตรี ต้องบอกให้พวกนิวแตลเขารู้ว่า จะรบกันกับคนนั้น ๆ

น่าที่นิวแตลไม่ให้ ๆ ทหารช่วยฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ แลไม่ให้มาตั้งเกลี้ยกล่อมในอาณาเฃตรของตนเอาคนไปเปนทหารในเวลานั้น แลบางทีไม่ให้ยืมเงินกัน แต่เมื่อราษฎรคนหนึ่งคนใดให้ยืมแล้ว เห็นจะทำได้

นิวแตลดูเหมือนจะต้องห้ามไม่ให้คนของตัวขายเครื่องสาตราวุธกระสุนดินดำแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

นิวแตลจะยอมให้ทหารฝ่ายหนึ่งเดินข้ามอาณาเฃตรของตัวนั้นไม่ได้

แต่เรือรบของฝ่ายหนึ่งมีอำนาจที่จะมาอาไศรยเฃตรนิวแตล ๆ ไม่ควรให้เสบียงอาหารแลถ่านมากกว่าพอที่จะเดินไปอ่าวอื่น แลไม่มีอำนาจที่จะอนุญาตให้ตั้งถานรบในอาณาเฃตร เมื่อเรืออื่นตามเข้ามาจะรบในที่ของเราแล้ว เรามีอำนาจห้าม แลเมื่อเรือนั้นจอดอยู่ในอ่าวของเรา จะค่อยตามสัตรูไปเพื่อที่จะทำร้าย เรามีอำนาจที่จะปล่อยไปวันละลำได้ (มักจะเรียกกันว่า ข้อบังคับ ๒๔ ชั่วโมง)

นิวแตลไม่มีอำนาจที่จะอนุญาตให้เรือของราษฎรตนออกไปช่วยผู้รบฝ่ายหนึ่ง

ตามธรรมดา เมื่อประเทศ ๒ ประทศรบกัน พวกนิวแตลมีอำนาจที่จะค้าขายได้แต่ฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ เว้นไว้แต่สิ่งของซึ่งจะช่วยกำลังในการรบ แลในเฃตรซึ่งฝ่ายหนึ่งเขาได้ประกาศว่า จะบลอกเขด

แต่บลอกเขดนั้นจะเปนบลอกเขดแต่ด้วยปากไม่ได้ ต้องมีเรือแลอำนาจสำหรับห้ามโดยจริงจัง แลเมื่อเรือนิวแตลจะหนีเข้าหนีออกได้แล้ว จะเอาโทษแก่รัฐบาลไม่ได้

เรื่องของซึ่งต้องห้าม ที่เรียกว่า คอนตรแบน นั้น คือ สาตราวุธ แลกระสุน, ดินดำ, ม้า, ดินประสิว, กำมถัน, แลเครื่องสำหรับต่อเรือต่าง ๆ แลบางทีก็กล่าวกันว่า ถ่าน

เมื่อปี ๑๘๘๕ เมื่อฝรั่งเศสรบกับจีน ฝรั่งเศสจะนับเข้าสารเปนคอนตรแบน อังกฤษไม่ยอม

แต่ของบริโภคก็ดี เงินก็ดี ดีบุกก็ดี เสื้อผ้าก็ดี เมื่อขายแก่กันสำหรับในการทัพศึกแล้ว เปนคอนตรแบนทั้งนั้น

ฝ่ายหนึ่งมีอำนาจที่จะตรวจเรือนิวแตลว่า จะมีคอนตรแบนฤๅไม่ เมื่อมีแล้ว จับเอาเรือนั้นไปที่อ่าวตัว แลริบเอาของได้ แต่เรือนั้นโดยมากมักจะปล่อย

สิ่งซึ่งเขานับว่าเปนคอนตรแบน คือ หนังสือ แลผู้ถือหนังสือ ฤๅคนใชัสอยของรัฐบาลซึ่งเปนสัตริริบเอาได้เหมือน

ได้กล่าวมาแล้วว่า ทรัพย์สมบัติของราษฎรซึ่งอยู่ในเรือเดินทเลแล้ว ริบเอาได้ก็เมื่อเกี่ยวดองกับนิวแตลอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วจะริบเอาได้เพียงใด

(๑) วิธีโบราณ ของ ๆ ข้าศึกแล้ว ริบได้ ของ ๆ นิวแตล ริบไม่ได้ เพราะเหตุฉนี้ ริบเอาเรือคืนสินค้า ฤๅริบเอาสินค้าคืนเรือ เสียได้

(๒) วิธีฝรั่งเศสแต่เดิม แม้ว่าเรือฤๅสินค้าสิ่งหนึ่งสิ่งใดของสัตรูแล้ว ริบเอาได้ทั้งหมด

(๓) วิธีฮอลันดา ถ้าแม้เรือนั้นเปนของสัตรูแล้ว เอาได้ทั้งหมด ถ้าเปนเรือของนิวแตล ถึงมาตรว่าของจะเปนของสัตรูก็ดี ริบเอาไม่ได้ (วิธีนี้นับว่า เรือสินคิาเปนอาณาเฃตรของธง)

(๔) วิธีใหม่ซึ่งได้ตกลงกันที่เมืองปารีศเมื่อปี ๑๘๕๖ เรือของนิวแตลแล้ว ริบเอาเรือฤๅของไม่ได้ เว้นไว้แต่ของซึ่งต้องห้าม แต่เมื่อเรือนั้นเปนของสัตรูแล้ว จะริบเอาสินค้าของนิวแตลที่อยู่ในเรือนั้นไม่ได้

ตามธรรมดา เขามักจะตั้งศาลพิเศษศาลหนึ่งสำหรับผู้ซึ่งได้จับเรือแลสินค้าได้ให้มาโฆษนาให้รู้ จะได้ไต่สวนว่า สิ่งใดเปนของข้าศึกซึ่งควรริบได้ สิ่งใดเปนของข้าศึกซึ่งริบไม่ได้ เรียกว่า ไปรสขอด คือ ศาลรางวัล (มีวิธีหลายอย่าง ยังไม่ตกลงกันทั่วไป)