หน้า:กม รธน และ เลือกตั้ง - ดิเรก ชัยนาม - ๒๔๙๓ (๑).pdf/8

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
5
กฎหมายรัฐธรรมนูญและเลือกตั้งพิศดาร

อาณาเขตต์ ฯลฯ ส่วนประเภทสองซึ่งเีก่ยวกับกฎหมายของกษัตริย์นี้เป็นเรื่องภายในราชสำนักมากกว่า ซึ่งกษัตริย์ฝรั่งเศสมีพระราชอำนาจเปลี่ยนแปลงได้ หลักนี้แม้พระเจ้าหลุยที่ ๑๔ ซึ่งเคยประกาศว่า "ฉันนี่แหละคือรัฐ" ก็ยังทรงยอมรับรอง

กฎหมายเหล่านี้ รวมทั้งธรรมเนียมประเพณี นาน ๆ เข้าก็กลายเป็นรัฐธรรมนูญซึ่งไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้ง ๆ ที่มีหลายฉะบับเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ต่อมาถึงคริสศตวรรษที่ ๑๗ กษัตริย์ฝรั่งเศสมีอำนาจมากเข้า เลยใช้บ้าง ไม่ใช้บ้าง แล้วแต่พระทัยของพระองค์ ในปี ค.ศ. ๑๗๘๙ Sieyés สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เป็นผู้แสดงความเห็นชักชวนราษฎรอย่างเปิดเผยว่า ประเทศฝรั่งเศสควรจะรวบรวมหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญเขียนเป็นเล่มเดียวขึ้น โดยประกาศว่า รัฐธรรมนูญนั้นต้องมาจากประชาชาติฝรั่งเศส และผู้ที่จะร่างรัฐธรรมนูญนั้น สมัชชาซึ่งราษฎรเลือกตั้งเท่านั้น เป็นผู้มีสิทธิ

การเป็นมาของรัฐธรรมนูญบริติชก็เดินขนานคล้าย ๆ กับฝรั่งเศส แต่ผิดกันในตอนปลาย คือ ฝรั่งเศสสิ้นสุดลงโดยการปฏิวัติฝรั่งเศส และสร้างรัฐธรรมนูญขึ้นโดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเล่มเดียว ส่วนอังกฤษนั้นคงใช้รัฐธรรมนูญซึ่งมาจากกฎหมายสำคัญต่าง ๆ ธรรมเนียมประเพณี และคำพิพากษาของศาลจนทุกวันนี้

นักกฎหมายรัฐธรรมนูญอธิบายว่า รัฐธรรมนูญนั้นมีหลายชะนิดด้วยกัน เช่น "เสรี" (free) "ประชาธิปไตย" (democratic) "อภิชนาธิปไตย" (aristocratic) แต่ถ้าจะแยกเป็นตราสารแห่งหลักฐานการปกครอง (instruments of evidence) แล้ว เขาแยกเป็น ๒ ประเภล คือ

๑. รัฐธรรมนูญประเภทวิวัฒนาการ (evolution) และ

๒. รัฐธรรมนูญประเภทประกาศใช้ (enacted)

ม.ธ.ก.