ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:กม ร ๕ - ๒๔๔๐.pdf/18

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
ศก ๑๑๖
11
 

โฉนดตราแดงตราจอง ครั้นจะตัดสินให้เปนสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้โฉนดตราแดงตราจองไว้ในมือเล่า ก็ได้ความตามบริคณห์สัญญาว่า ทั้งสองฝ่ายได้ยินยอมกันไว้ให้ไถ่ได้ดังการขายฝากแลจำนำทรัพย์อย่างอื่น ๆ เปนการขัดข้องอยู่ดังนี้ ขอรับพระราชทานเรียนพระราชปฏิบัติ

ทรงพระราชดำริห์ว่า ประกาศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๔ ทรงตั้งขึ้นนั้นก็ย่อมเปนไปตามเหตุผลที่ใช้กันชุกชุมอยู่ในกาลสมัยนั้น คือ ทำหนังสือบริคณห์สัญญากันด้วยกระดาษข่อยเส้นดินสอ ไม่มีแบบสัญญา แล้วแต่จะตกลงสัญญากัน เปนต้น ความที่เปนอยู่ในเวลานั้นโดยมากก็คือผู้ขายฝากผู้จำนำไม่อยากเสียดอกเบี้ยฤๅอยากเสียแต่น้อย จึงได้เอาน่าโฉนดตราแดงตราจองไปให้ไว้ไม่มีกำหนดไถ่คืน ฝ่ายผู้รับเห็นประโยชน์ในการที่รับไว้โดยราคาถูก ๆ แลได้เก็บผลประโยชน์อันเกิดขึ้นแต่ที่สวนที่นานั้น จึงได้มีผู้รับจำนำเช่นนี้มากขึ้น บางรายก็เอาน่าโฉนดตราแดงตราจองไปยึดไว้บ้าง บางรายก็ยึดไว้แต่หนังสือบริคณห์สัญญาบ้าง เมื่อขายฝากฤๅจำนำกันด้วยมีหนังสือบริคณห์สัญญากันเช่นนี้ ผู้ขายฝากฤๅผู้จำนำก็มักจะทิ้งไว้โดยมาก ครั้นที่ดินมีราคามากขึ้นแล้ว ผู้ที่ขายฝากแลผู้ที่จำนำเหล่านี้กลับมาฟ้องร้องขอไถ่คืน ฝ่ายผู้ที่รับไว้ก็ถือว่าในสัญญาไม่มีกำหนดเวลาให้ไถ่ ฤๅผู้ที่ได้โฉนดตราแดงตราจอง