ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/15

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๑ มิถุนายน ๑๒๗
เล่ม ๒๕ หน้า ๒๒๐
ราชกิจจานุเบกษา

แลมาตรา ๔๗ เว้นแต่ถ้าปรากฎว่า เมื่อเสพย์สุรายาเมานั้น ผู้เสพย์มิได้รู้ว่า เปนสุรายาเมาก็ดี หรือผู้อื่นใช้กำลังแลอำนาจข่มขืนใจให้มันต้องจำเสพย์สุรายาเมาก็ดี ท่านจึงให้ยกโทษให้ในฐานวิกลจริต

มาตรา ๔๙

ผู้ใดกระทำความผิดเพราะต้องทำด้วยความจำเปนในเหตุเหล่านี้ คือว่า

(๑)เพราะมันอยู่ในที่บังคับแลในใต้อำนาจที่มันไม่สามารถจะขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงได้ก็ดี

(๒)มันไม่มีเจตนาชั่วร้าย แต่ต้องกระทำผิดเพื่อจะป้องกันตัวเองหรือผู้อื่นให้พ้นภยันตรายอันร้ายแรงซึ่งมันมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเอง และจะป้องกันภยันตรายนั้นด้วยอุบายอย่างอื่นมิได้ก็ดี ถ้าความผิดของมันในสองข้อที่กล่าวนี้ไม่ปรากฎว่า มันได้กระทำเกินไปกว่าสมควรแก่เหตุแล้ว ท่านว่า อย่าให้เอาโทษแก่มันเลย

แต่ความกรุณาที่ว่ามานี้ ท่านมิให้ใช้ในส่วนคดีที่กระทำผิดคิดประทุษฐร้ายต่อพระเจ้าอยู่หัว หรือประทุษฐร้ายต่อพระราชอาณาจักร์ ตามที่กล่าวไว้ตั้งแต่มาตรา ๙๗ จนมาตรา ๑๑๑

มาตรา ๕๐

บุคคลที่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่พอสมควรแก่เหตุ โดยมีความจำเปนเพื่อป้องกันชีวิตร์ เกียรติยศ แลชื่อเสียง หรือทรัพย์ของตัวมันเองก็ดี หรือของผู้อื่นก็ดี เพื่อให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดโดยผิดด้วยกฎหมาย ท่านว่า ไม่ควรลงอาญาแก่มัน

มาตรา ๕๑

การต่อสู้เจ้าพนักงานที่กระทำการอย่างใดใดตามหน้าที่นั้น ท่านว่า มิให้นับว่าเปนการป้องกันที่ชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา ๕๒

ผู้ใดกระทำการตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย ท่านว่า ผู้นั้นไม่ควรรับอาญา

ที่ว่า กระทำการตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายนั้น ท่านอธิบายไว้ดังนี้ คือ

(๑)การที่กระทำเปนการต้องตามพระราชกำหนดกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลานั้น

(๒)บุคคลกระทำการตามคำสั่งของเจ้าพนักงานฝ่ายทหารก็ดี พลเรือนก็ดี อันตนมีหน้าที่ที่จะต้องฟังบังคับบัญชา แม้ว่าคำสั่งนั้นจะผิดกฎหมาย ถ้าปรากฎว่า ผู้รับคำสั่งไปกระทำกระทำโดยเชื่อว่า ชอบด้วยกฎหมายโดยเหตุผลอันสมควร ท่านก็ให้ถือว่า ผู้รับคำสั่งไปกระทำการนั้นไม่ควรรับอาญาเหมือนกัน

มาตรา ๕๓

ถ้าผู้ใดที่กระทำความผิดอันต้องด้วยลักษรยกเว้นประการหนึ่งประการใดตามที่ว่ามาตั้งแต่มาตรา ๔๙ จนถึงมาตรา ๕๒ นั้น