หน้า:คำวินิจฉัยศาล รธน ๒๕๖๓-๔.pdf/31

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
– ๓ –

จึงเป็นการใช้อำนาจของรัฐมากเกินไป มีผลกระทบทั้งหญิงและชีวิตในครรภ์ที่จะมีชีวิตต่อมาอย่างไม่มี คุณภาพ

อย่างไรก็ตามจะถือว่าสตรีมีสิทธิทำแท้งโดยเด็ดขาดก็ไม่สมควร เพราะรัฐมีหน้าที่ช่วยเหลือ ในด้านสุขภาพทั้งกายและจิตใจของมารดา ให้ปลอดภัยจากการยุติการตั้งครรภ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย แก่ชีวิตมารดาด้วย ส่วนกรณีทารกในครรภ์ รัฐอาจเข้าไปคุ้มครองเมื่อทารกในครรภ์เติบโตพอสมควรจน เริ่มมีสัญญาณของความอยู่รอด (viability) แล้วเท่านั้น จึงควรกำหนดระยะเวลาในการยุติการตั้งครรภ์ ได้ในเวลาที่ปลอดภัยแก่หญิงและคุ้มครองชีวิตในครรภ์ที่ผ่านระยะเวลาที่มีอวัยวะครบสามารถคลอดและ อยู่รอดอย่างมีคุณภาพชีวิตได้ อันเป็นการสร้างความมั่นคงในชีวิตของมนุษย์ทั้งแม่และเด็ก บทบัญญัติ ดังกล่าวจึงเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๘

ดังนั้น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๑ จึงเป็นบทบัญญัติที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ต่อบุคคล และจำกัดสิทธิและเสรีภาพในร่างกายของบุคคล อันขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘ ประกอบกับมาตรา ๗๑ กำหนดให้รัฐพึ่งส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มี คุณภาพสูงขึ้นและช่วยเหลือสตรีให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพโดยคำนึงถึงความจำเป็นและความ ต้องการที่แตกต่างกันของเพศเพื่อความเป็นธรรม

มาตรา ๓๐๑ จึงควรกำหนดระยะเวลาเพื่อให้หญิงได้ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย

ส่วนประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๒ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘ หรือไม่

มาตรา ๓๐๒ บัญญัติว่า "ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษ…

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษ…

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษ…

มาตราดังกล่าวไม่มีการแยกแยะระหว่างการยุติการตั้งครรภ์โดยแพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรม เพื่อให้การยุติการตั้งครรภ์เป็นไปด้วยความปลอดภัยแก่หญิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๑ กับการยุติการตั้งครรภ์โดยผู้ที่มิใช่ผู้ประกอบอาชีพทางเวชกรรม (หมอเถื่อน) เพราะผลที่ เกิดขึ้นคือการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย แม้ถึงตายผู้กระทำก็อาจไม่ถูกลงโทษ (ฎีกาที่ ๔๕๔/๒๕๐๒) ในขณะที่แพทย์ที่ทำให้อย่างปลอดภัยกลับถูกฟ้องเป็นคดี ทั้ง ๆ ที่เป็นการรักษาทางการแพทย์โดยที่ แพทย์มีจรรยาบรรณและข้อบังคับของแพทยสภาควบคุมอยู่แล้ว จึงควรลงโทษทางจรรยาบรรณของผู้มี วิชาชีพ ไม่ใช้โทษอาญาเพราะเป็นการกระทำทางการแพทย์ (medical treatment) ให้หญิงปลอดภัย

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๒ จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ เพราะเมื่อ หญิงประสงค์จะยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๑ อย่างปลอดภัย ภายใต้การดูแลของผู้ประกอบอาชีพเวชกรรม แต่มาตราดังกล่าวกลับกำหนดให้เป็นความผิด แม้ทำกับ