หน้า:ตำนานพระปริตร - ดำรง - ๒๔๖๒.pdf/26

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๑

ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่บ้าง พระสงฆ์ธรรมยุติกาสวดกันเป็นแบบอยู่แต่ก่อน สมเด็จพระสังฆราช (สา) ได้เรียบเรียงไว้ในหนังสือสวดมนตร์ ฉะบับหลวง โดยพิศดาร

 สวดมนตร์ ๓ วัน แต่ก่อนมา มีงานพระราชพิธีบางอย่างซึ่งพระสงฆ์สวดมนตร์ ๓ วัน แต่ไม่มีสวดภาณวาร เช่น พิธีสารทและพิธีโสกันต์ชั้นรองเจ้าฟ้าลงมา เป็นต้น งานเช่นนี้ พระสงฆ์สวด ๗ ตำนานในวันแรก สวด ๑๒ ตำนานในวันกลาง สวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรกับมหาสมัยสูตรในวันหลัง แต่มาแก้ไขเมื่อในรัชชกาลที่ ๕ เป็นสวด ๗ ตำนานวันแรก สวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรวันกลาง สวดมหาสมัยสูตรวันหลัง ยังคงสวดในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาอยู่ในบัดนี้

การทำน้ำมนตร์เป็นส่วนหนึ่งของสวดพระปริต เพราะฉะนั้น จึ่งเป็นประเพณีบ้านเมืองมาแต่โบราณ ถ้ามีการสวดพระปริตที่ใด ก็ย่อมตั้งบาตรหรือหม้อใส่น้ำมีเทียนจุดติดไว้และผูกด้ายสายสิญจน์ล่ามมาให้พระสงฆ์ทั้งปวงถือในเวลาสวดพระปริต

จะขอกล่าววินิจฉัยแทรกลงตรงนี้สักหน่อย ข้าพเจ้าเคยนิมนต์พระสงฆ์ลังกาและพระสงฆ์พะม่ามาทำบุญ สังเกตดู เวลาสวดมนต์ ตั้งตาลิปัตรทั้งพระสงฆ์ลังกาและพะม่า แต่พระสงฆ์ไทยมอญสวดมนตร์ไม่ตั้งตาลิปัตร ที่ผิดกันจะเป็นด้วยเหตุใด พิเคราะห์ดูก็เห็นเค้าเงื่อน สันนิษฐานว่า ประเพณีเดิมในอินเดีย ตาลิปัตรเป็นของพระสงฆ์ใช้ใน