เดิม สงขลาเป็นปากน้ำเมืองพัทลุง ตาตุมะระหุ่ม แขกอิสลาม ปู่ของพระยาราชบังสัน (ตะตา) เป็นผู้มาตั้งเมืองขึ้น) สมัยธนบุรี พระปลัดตั้งตัวเป็นเจ้านครศรีธรรมราช ให้หลานชายมาเป็นผู้ว่าราชการเมืองพัทลุง ตั้งเมืองที่ท่าเสม็ดหรือตำบลปราณ แล้วต่อมา เจ้านครให้พระยาพิมลขันธ สามีท้าวเทพสตรีเมืองถลาง มาเป็นเจ้าเมือง ตั้งเมืองที่ตำบลควนมะพร้าว พ.ศ. ๒๓๑๒ พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ โปรดให้นายจันท์ มหาดเล็ก มาเป็นเจ้าเมือง ตั้งเมืองที่บ้านม่วง ภายหลัง นายจันท์ มหาดเล็ก มีโทษ ต้องถูกถอด พ.ศ. ๒๓๑๕ ทรงตั้งนายขุน บุตรพระยาราชบังสัน (ตะตา) ต้นสกุล ณพัทลุง หรือพระยาพัทลุง ขุนคางเหล็ก เป็นพระยาแก้วเการพพิชัย ผู้สำเร็จราชการเมืองพัทลุง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชชกาลที่ ๑ โปรดให้เมืองพัทลุงและเมืองอื่น ๆ อีก ๑๙ เมืองทางปักษ์ใต้ซึ่งเดิมขึ้นกรมท่ามาขึ้นกลาโหม พ.ศ. ๒๓๒๘ พะม่ายกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เจ้าเมืองกรมการหลายเมืองยกครอบครัวหนีพะม่าเข้าป่า เพราะทางกรุงเทพฯ ก็ติดพันทำศึกกับพะม่าอยู่ ยกมาช่วยไม่ได้ แต่พระมหาช่วย เป็นอธิการอยู่วัดเขาแดง แขวงเมืองพัทลุง ได้แจกผ้าประเจียดและตระกรุดแก่กรมการนายแขวงนายบ้านและชาวเมืองที่มีความเลื่อมใสนับถือ แล้วให้พระมหาช่วยขึ้นคามหามคุมกันเป็นกองทัพ มีคน ๑๐๐๐ เศษ ยกเข้ามาขัดตาทัพพะม่าอยู่กลางทางที่คลองปันแต เขตต์พัทลุงต่อกับนคร ไม่หนี
หน้า:ตำนานเมือง - รถ - ๒๔๘๑.pdf/22
หน้าตา