หน้า:ตำนานเมือง - รถ - ๒๔๘๑.pdf/41

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๘

ประตูหอรบ เมื่อมีศึกใหญ่มา ก็รับไม่อยู่ ซ้ำกลับเป็นที่อาศัยอันมั่นคงของข้าศึกเสียอีก จึงตรัสให้รื้อป้อมกำแพงเสีย ต่อมาก็ไม่ได้รักษาเป็นเมืองสำคัญ เพราะตกเป็นเมืองชั้นใน ถ้ามีศึกมาทางนั้นเป็นศึกใหญ่ เหลือกำลังที่จะรับในแดนนั้นได้ ก็ถอยมาตั้งรับในพระนคร ถ้าพอรับได้ ก็ยกออกไปต่อสู้ อย่างที่เรียกว่า ศึกกลางแปลง คือ ตั้งค่ายคูขึ้นใหม่แล้วแต่จะเหมาะ ดังครั้งสมเด็จพระนเรศวรชนช้างกับพระมหาอุปราชเป็นต้น

จังหวัดอุดรธานี เดิมเป็นบ้านร้าง เรียกว่า บ้านหมากแข้ง ที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะบ้านนั้นมีต้นหมากแข้ง (มะเขือพวง) ใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง วัดผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ ๔๐ ซม. เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ กรมหลวงประจักษศิลปาคม ข้าหลวงต่างพระองค์ ซึ่งทรงบัญชาการมณฑลลาวพวน ได้ย้ายที่บัญชาการจากจังหวัดหนองคายมาตั้งท่าบ้านหมากแข้ง เพราะเหตุว่า รัฐบาลสยามได้ทำสัญญากับฝรั่งเศส ฉบับวันที่ ๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) อันมีข้อความตอนหนึ่งขีดขั้นไม่ให้สยามตั้งกองทหารภายในบริเวณ ๒๕ กม. จากฝั่งแม่น้ำโขง (สัญญานี้ได้ยกเลิกแล้ว) แต่ครั้งนั้น แต่ก็ยังมิได้ตั้งเมืองเพราะมีแต่ที่ประทับในค่ายทหารเท่านั้น ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๔๑ กรมหลวงประจักษศิลปาคมเสด็จกลับกรุงเทพฯ ประจวบกับที่จัดการปกครองท้องที่เป็นมณฑลเทศา