หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/221

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
206

มาจากที่อื่นและไม่ต้องปลูกฝีต่อกันดังแต่ก่อน การปลูกฝีก็แพร่หลายไปตามหัวเมือง ด้วยจ่ายพันธุ์หนองออกไปไห้แพทย์ประจำเมืองเปนพนักงานปลูกฝีด้วย

ถึงรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ส. 2455 เกิดโรคฝีดาดชุกชุม คล้ายกับเปนโรคระบาด และไนสมัยนั้นการบำรุงอนามัย ได้โอนจากกะทรวงธัมการไปเปนหน้าที่กะทรวงปกครองท้องที่ คือกะทรวงนครบาลบำรุงอนามัยไนมนทลกรุงเทพฯ กะทรวงมหาดไทยบำรุงอนามัยตามหัวเมืองมนทลอื่น ๆ กรมพยาบาลคงเปนแต่จัดการโรงเรียนแพทย์ กับโรงพยาบาลสิริราชซึ่งเปนที่ฝึกสอนนักเรียนแพทย์ เปนเช่นนั้นมาแต่ไนรัชกาลที่ 5 เมื่อเกิดโรคฝีดาดชุกชุมขึ้น พระบาทสมเด็ดพระมงกุดเกล้าเจ้าหยู่หัว จึงดำหรัดสั่งไห้เสนาบดีกะทรวงมหาดไทยกับเสนาบดีกะทรวงนครบาล ปรึกสากันจัดการป้องกันโรคระบาดด้วยปลูกฝีชาวเมืองไห้มากเท่าที่จะทำได้ ถ้าหากจะต้องไช้เงินเกินกว่าที่มีหยู่ จะซงพระกรุนาโปรดพระราชทานเงินส่วนพระองค์ช่วย จนพอแก่การมิไห้ติดขัด เมื่อปรึกสาถึงวิธีที่จะจัดการปลูกฝีตามรับสั่ง กะทรวงนครบาลเห็นว่าจะต้องตั้งข้อบังคับไห้พลเมืองที่ยังไม่ออกฝีดาดปลูกฝีทุกคน แล้วประกาสเรียกพลเมืองมาปลูกฝีตามข้อบังคับนั้น กะทรวงมหาดไทยเห็นว่าการตั้งข้อบังคับพลเมืองนั้น จำต้องกำหนดโทสผู้ขัดขืน แม้หย่างต่ำเพียงปรับไหมก็เปนความเดือดร้อน จะทำไห้คนเกิดหวาดหวั่นเสียแต่แรก ก็การปลูกฝีนั้น ที่จิง