หน้า:ปก ให้ใช้วันอย่างใหม่ (๑๒๕๐).pdf/5

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔๕๕
เล่ม ๕
ราชกิจจานุเบกษา

ทั้งปวงซึ่งมีซึ่งเปนในปีหนึ่ง ๆ ได้แน่นอน แลสมกับเหตุอันควรประการที่ ๓ โดยเปนทางง่ายที่คนจะเรียนรู้ แลจำไว้ แลรู้ทั่วไปในประเทศชุมชนในโลกย์นี้ได้มาก แลเพราะมีพระบรมราชประสงค์ทรงพระกรุณาแก่อาณาประชาราษฎรทั้งปวงทั่วไปจะให้มีวิชาเจริญเร็ว ให้ละสิ่งซึ่งไม่เปนประโยชน์มาประกอบสิ่งที่เปนประโยชน์จริงอยู่เสมอดังนี้ การอันใดที่ควรจะแก้ไขให้ดีขึ้น จึ่งได้ตั้งพระราชหฤไทยทรงกระทำนำให้เปนอย่างแก่คนทั้งปวง จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราเปนพระราชบัญญัติไว้สืบไปว่า

ข้อ  ให้ตั้งวิธีนับปีเดือนตามสุริยคติกาลดังว่าต่อไปนี้ เปนปีปรกติ ๓๖๕ วัน ปีอธิกสุร์ทิน ๓๖๖ วัน ให้ใช้ศักราชตามปีตั้งแต่ตั้งกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุทธยาบรมราชธานีนั้น เรียกว่า รัตนโกสินทร์ศก ใช้เลขปีในรัชกาลทับหลังศกด้วย แต่เลขทับศกที่ประกาศไว้ในหมายประกาศสงกรานต์ใช้เปลี่ยนต่อเมื่อเปลี่ยนจุลศักราชนั้น ให้ยกเสีย ให้เปลี่ยนเลขทับศกตามกาลที่เปลี่ยนรัตนโกสินทร์ศก

ข้อ  ปีหนึ่งมี ๑๒ เดือน มีชื่อตามราษีที่เดือนนั้นเกี่ยวข้องอยู่ มีลำดับดังนี้

เดือนที่ ชื่อ เมษายน มี ๓๐ วัน
" " พฤษภาคม " ๓๑ "
" " มิถุนายน " ๓๑ "
" " กรกฎาคม " ๓๑ "
" " สิงหาคม " ๓๑ "
" " กันยายน " ๓๑ "
" " ตุลาคม " ๓๑ "
" " พฤศจิกายน " ๓๑ "
" " ธันวาคม " ๓๑ "
" ๑๐ " มกราคม " ๓๑ "
" ๒๘ "
ในปีปรกติสุร์ทิน
" ๑๑ " กุมภาพันธ์
" ๒๙ "
ในปีอธิกะสุร์ทิน
" ๑๒ " มีนาคม " ๓๑ "

วันในเดือนหนึ่งนั้น ให้เรียกว่า วันที่ ๑, ๒, ฯลฯ ๓๐, ๓๑,

ข้อ  ให้นับใช้วิธีนี้ในราชการแลการสารบาญชีทั้งปวงตั้งแต่วัน ๒ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีฉลู ยังเปนสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ นั้น เปนวันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทร์ ๑๐๘ ต่อไป แต่วิธีนับเดือนปีตามจันทรคติซึ่งเคยใช้มา