หน้า:ประชุมกฎหมายประจำศก (๐๗) - ๒๔๗๘.pdf/190

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๗๒

พระยาเทพวรชุนบิดาของทรัพย์ก็ไปราชการอยู่ไกล ภายหลังเกิดความเรื่องนี้ขึ้น พระยาเทพวรชุนจะว่าอย่างไรก็ยังไม่ทราบ จึ่งโปรดให้หาตัวนายพิศาลหุ้นแพรในพระบวรราชวังแลบุตรพระยาเทพวรชุนที่เปนมหาดเล็กหลายนายมา แล้วมีพระบรมราชโองการดำรัสถามว่า ทรัพย์บุตรพระยาเทพวรชุนนอกใจนายรองชิตผู้ผัว ยอมให้พันสรสิทธิทำชู้ จนนายรองชิตผู้ผัวจับได้ บัดนี้ ชายชู้ก็เสียเบี้ยปรับเสร็จแล้ว ตัวทรัพย์สมัคจะไปอยู่กับชายชู้ ญาติพี่น้องจะยอมให้ฤๅไม่? คาดเห็นว่า พระยาเทพวรชุนจะยอมยกให้ชายชู้ฤๅไม่? บุตรพระยาเทพวรชุนทุกนายกราบทูลพระกรุณาว่า ไม่ยอม คาดใจพระยาเทพวรชุนว่า เห็นจะไม่ยอมให้ไปกับชายชู้ จึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้มอบตัวทรัพย์ให้นายพิศาลพี่ชายของทรัพย์รับตัวทรัพย์ไปจำไว้คอยถ้าพระยาเทพวรชุน การต่อไปค่างน่า สุดแต่พระยาเทพวรชุนผู้บิดา

อนึ่ง กฎเก่าเก่าว่า ผัวเมียอย่าร้างกัน แยกย้ายกันไป บุตรชายให้ได้แก่มารดา บุตรหญิงให้ได้แก่บิดา กฎหมายบทนี้มีพระบรมราชโองการดำรัสว่า ให้ใช้ได้แต่ในบุตรของบิดามารดาที่เปนศักดิ์ต่ำ ก็ถ้าว่า บุตรของบิดามารดาที่เปนศักดิ์สูงศักดินากว่า ๔๐๐ ขึ้นไป ให้ตามใจบิดา ถ้าบิดาไม่รับเลี้ยงขับไล่บุตรเสียด้วย บุตรจึ่งตกเปนของมารดา ถ้าบิดารักชาติตระกูลยศศักดิ์อยู่ ไม่ยอมให้ไปกับมารดา บุตรก็ต้องเปนของบิดาหมด

ด้วยนัยนี้ ถ้าในบางทีบางคราว หญิงที่มีศักดิ์สูงจะไปได้ผัวไพร่ มีบุตรเกิดด้วยกัน บุตรนั้นก็ต้องเปนของมารดาฤๅของตาแลญาติ