หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๕) - ๒๔๖๒.pdf/21

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๐

เปนโคกรับฐานปูนไว้นั้น ยังเปนรูปพระเศียรอยู่บ้างท่อนพระกรบ้าง ขนาดท่อนพระกรโดยกลมประมาณ ๓ คืบ พระเศียรยาวแต่พระนลาตริมพระเกษลงมาปลายพระหณุประมาณ ๑ ศอกคืบ ฝ่าพระบาทใหญ่โดยกว้าง ๑๕ นิ้วครึ่ง ที่สาปสูญเสียก็มี)

ฝ่ายที่เมืองพัทลุง (จะทิ้งพระ) แผดงศรีภิรมย์เห็นว่า ที่บนภูเขาพิพัทสิงห์มีรอยพระพุทธบาทอยู่ (ได้พิเคราะห์ดูแล้วเห็นจะเปนธรรมดาศิลานั้นเอง) จึงขอต่อพระนาไลยมุย (เห็นจะเปนเจ้าอธิการวัดหลวง) ทำพระวิหารแลก่อรูปพระโคะขึ้นบนภูเขาพิพัทสิงห์ จึงเรียกว่า “เขาพระโคะ” แต่นั้นมา (ที่เรียกว่าพระโคะนี้จะเปนรูปอะไรก่อขึ้นไว้ฟังไม่ได้เรื่องราวเลย เห็นจะเปนพระโคซึ่งเปนเทวพาหนะของพระอิศวร ด้วยเปนที่นับถือของไทยแต่โบราณจึงก่อรูปไว้บูชา ครั้นกาลนานมาก็กลายเปนพระโคะ คือจะมีเขม่าหรือเส้นอะไรของกระดาดเพลาแต้มเปนจุด ๆ อยู่หลังโค แลเข้าใจว่าเปนสระอะ จึงอ่านโคเปนโคะ เช่น คำค้อยของชาวเมืองสงขลาเดี๋ยวนี้ เดิมจะได้เห็นหนังสือกรุงเทพฯ ซึ่งเปนหนังสือหวัดกลาย ๆ ซึ่งเขียนว่า “ด้วย” นั้นเอง ผู้อ่านไม่เข้าใจคำกรุงเทพฯ ทั้งดูหนังสือหวัดไม่แน่ จึงอ่าน “ด้วย” เปน “ค้อย” ไป แต่สำเนียงบ้านนอกเรียกอักษรไม่ชัดเรียก ค้อย เปน ข่อย เช่นคำว่า “ค้าขาย” บ้านนอกเรียกเปน “ข่าค้าย” แลคำ