หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/372

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
พีสูท ดำน้ำ
ลุยเพลิง
[1]
 ศุภมัศดุศักราช ๑๘๙๙ ศกอัชะสังวัชฉะระผคุณมาศ
ศุกปักษย์ตะติยะดิดถียคุรุวารบริเฉทกาลกำหนด พระบาท
สมเดจ์พระเจ้ารามาธิบดี ศรีสินธรบรมจักรพรรดิศร บวร
ธรรมมิกมหาราชาธิราชเจ้า ผู้ผ่านพิภพถวัลราชศริสมบัดิใน
กรุงเทพมหานครบวรทวาราวะดี ศรีอยุทธยามหาดิลกภพ
นพรัตนราชธานีบุรีรมย์อุดมราชมหาสถาน เสดจ์ออกณะ
พระธินั่งมังคลาภิเศก พร้อมด้วยชาวเจ้าเง่ายุพราชมุขมาตยา
มนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตา โหราราชบัณฑิตยเฝ้าบำเรอบาท
จึ่งมีพระราชโองการมาณะพระบันทูลสูระสีหนาทดำรัสเหนือ
เกล้าฯ สั่งว่า ถ้าอนาประชาราษฎรข้าขอบเขดขันทเสมามนทล
จะพิพาษหาคดีแก่กัน ถึงพิสูทแก่กัน ให้กระทำตามพระราช
บัญญัตินี้
1
  มาตราหนึ่ง มีพระราชกฤษฎีกาไว้ว่าถ้า  โจท
จำเลย
จะถึง
พิสูทแก่กันมี ๗ ประการ ๆ หนึ่งให้ล้วงตะกั่ว ๑ ษาบาล ๑ ลูย
เพลิงด้วยกัน ๑ ดำน้ำด้วยกัน ๑ ว่าย  ขึ้นน้ำ
ค่ามฟาก
แข่งกัน ๑ ตาม
เทียนคลเล่มเท่ากัน ๑
 เมื่อแรกจะพิสูทนั้นให้กระลาการคุมลูกความทังสองไป

  1. พิมพ์ตามฉะบับหลวง L21x ยังเหลืออีกฉะบับหนึ่ง คือ L21 (ก)
ม.ธ.ก.