หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/70

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๕๙
กฎ ๓๖ ข้อ

เนื้อความนั้นก่อน ถ้าเปนการเรว ให้จดหมายไว้ก่อน จึ่งให้
สั่งไป แล้วให้เอาเรื่องราวนั้นให้เจ้ากรมปลัดกรมกราบทูล
พระกรุรณาฯ ฉลอง
 รับสั่งให้ไว้ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๒๖ ปีมะโรง ฉ้อศก
4
 อนึ่ง มีกฎให้ไว้แก่กระลาการว่า ถ้าโจทจำเลยนัดชี้สอง
สถาน แลผัดส่งคนทรัพยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้าแลขาดนัดขาดผัด
ถึงสามครั้ง จึ่งให้กระลาการรับเอาถ้อยคำนั้นว่ากล่าว ถ้าแล
โจทจำเลยนัด 
  • ถาม
  • เดิรเผชิญ
  • ชี้ขาด
ครั้นถึงนัด ถ้ามาบอกนัดว่า ป่วยเจบประ
การใด ให้ผู้มาบอกนำไปชันณะสูดดู ถ้าสมดั่งมาบอกแล้ว
ให้ทุเลาไปใหม่ ถ้าทุเลาแล้วมิได้มา ให้เอาเนื้อความเปนแพ้
ตามพระอายการ
 กฎให้ไว้ณวัน ๑๕+ ค่ำ จุลศักราช ๑๐๒๗ ปีมะเสง สัพศก
5
  อนึ่ง มีกฎให้ไว้แก้ลูกขุนณะสานหลวงว่า ราษฎรผู้มี
อัถะคดีเปนความแก่กัน ย่อมท้วงติงทุเลานอกสำนวรเปน
กระเบียดกระเสียน พิภากษาให้ปรับเปนสีนไหมพิไนย ต้อง
ปรับนอกสำนวรได้ความยากแค้นนัก แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ถ้า
โจทจำเลยท้วงติงทุเลาเปนแต่กระเบียดกระเสียน มิได้ตัด
ม.ธ.ก.