หน้า:ประวัติ - ปิติ วาทยะกร - ๒๕๑๒.pdf/42

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

พระมหากรุณาธิคุณได้ทรงพระบรมราชานุญาตเลิกล้มดนตรีวงนี้เสีย และส่งเครื่องดนตรีต่าง ๆ ที่มีอยู่ไปให้แก่กองทัพบกใช้ราชการต่อไป แต่พระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ ๖ ได้รับสั่งว่า ยังทรงเสียดายในการยุบเลิกดนตรีวงนี้อยู่ เพราะได้ลงทุนในการสร้างมากแล้ว ถ้าหากหาครูในประเทศมาได้ ก็ยังพอมีหวังกอบกู้ให้เจริญขึ้นมาได้ โดยทรงพระราชดำริห์กล่าวขวัญถึงข้าพเจ้าว่า หากได้บุตรชายของครูแตรฝรั่งคนเก่าของกองทัพบกซึ่งรับราชการอยู่ในกรมรถไฟหลวงมา ก็อาจแก้ไขดนตรีวงนี้ให้คืนดีขึ้นได้ เพราะครูแตรวงผู้นี้ท่านทรงรู้จักดีในขณะที่พระองค์ทรงดำรงค์ตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพบกเมื่อครั้งยังทรงเป็นพระยุพราชเจ้าในรัชกาลที่ ๕ การที่ได้ทรงพระราชดำริห์เช่นนี้ ข้าพเจ้ารับทราบเรื่องราวนี้ก็โดยผู้ที่ได้รับมอบหมายมาทาบทามข้าพเจ้า ในเมื่อท่านผู้นี้ได้มาทาบทามข้าพเจ้าอยู่นั้น ข้าพเจ้าลังเลใจอยู่ ด้วยเหตุว่า ได้รำลึกถึงคำกล่าวขวัญบิดาของข้าพเจ้าที่เคยกำชับข้าพเจ้าไว้หลายครั้งหลายหนก่อนที่ท่านถึงแก่กรรมว่า มิให้ข้าพเจ้ายึดถือและอาศัยวิชาการดนตรีซึ่งท่านได้ให้ไว้นั้นมาเป็นอาชีพเป็นอันขาด ทั้งนี้ ก็เพราะเหตุว่า ได้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายนายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ที่ได้มาเยี่ยมเยียนบิดาข้าพเจ้าในระหว่างเวลาที่ท่านกำลังป่วยหนักและได้เคยทาบทามอยู่เนือง ๆ ร้องขอให้บิดาข้าพเจ้ายินยอมอนุญาตให้ข้าพเจ้าได้ลาออกจากราชการกรมรถไฟหลวงมารับหน้าที่แทนบิดาข้าพเจ้าในหน้าที่ครูแตรวงกองทัพบก แต่บิดาข้าพเจ้าได้ตอบปฏิเสธเขาไปทุกครั้ง อันที่จริง ในเรื่องอาชีพของนักดนตรีและครูดนตรีในประเทศเรานี้ บิดาข้าพเจ้าได้เคยปรารภกับข้าพเจ้าอยู่เสมอ ๆ ว่า “...คนไทยเราไม่ใคร่สนใจในศิลปการดนตรีเท่าใดนัก ชอบทำกันเล่น ๆ สนุก ๆ ไปชั่วคราวเท่านั้น แล้วก็ทอดทิ้งไป...” ข้าพเจ้าจึง

– 40 –