หน้า:ประวัติ - ปิติ วาทยะกร - ๒๕๑๒.pdf/86

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

พเจ้าต้องตกเป็นหน้าที่ชี้แจงอีกว่า ถ้าไม่มีนักดนตรีฝึกหัด หากวงดนตรีใหญ่ขาดจำนวนไป จะเป็นด้วยถูกปลด หรือตาย หรือออกไปด้วยเหตุประการใดก็ตาม วงดนตรีก็หมดทางที่จะหานักดนตรีที่อื่นมาจุนเจือได้ และการที่วงดนตรีต้องขาดจำนวนลง ย่อมจะเป็นผลเสียหาย ด้วยเหตุนี้ จึงได้รับเงินค่าใช้สรอยเพื่อการนี้ได้อีกปีหนึ่ง ๖๐๐ ถึง ๗๐๐ บาท วงดนตรีจึงรับนักเรียนฝึกหัดได้ ลดจากจำนวนเดิมเป็นเพียง ๔–๕ คน เมื่อจำนวนนักดนตรีประจำวงได้ถูกปลด, ทุพพลภาพ หรือตายไป ก็ไม่มีทางจุนเจือจำนวนให้คงที่ได้ กิจการของวงดนตรีสากลจึงบังเกิดความขลุกขลักอีกเรื่อยมา

วงดนตรีสากลแห่งกรมศิลปากรได้รับอันตรายถึงขั้นสุดท้าย คือ ความหายนะ ท่านผู้บริหารงานกรมศิลปากร (สมัยนั้น) ตัดจำนวนดนตรีกระจัดกระจายออกไป ส่วนหนึ่ง (๑๘ คน) ถูกส่งไปเป็นนักดนตรีประจำละครกรมศิลปากรที่นิยมกันในสมัยนั้น อีกส่วนหนึ่ง (๘ คน) ถูกย้ายไปประจำกรมโฆษณาการ เมื่อคราวที่กรมนี้ได้ตั้งวงดนตรีแจ๊ส Jazz Band ขึ้น กิจการทั้งนี้ก็เพื่อตัดทอนเงินงบประมาณของวงดนตรีสากลเอาไปบำรุงในทางอื่นตามที่มั่นหมายในขั้นแรก นักดนตรีมีจำนวนน้อยลงไปด้วยการปลดบ้าง, ลาออกบ้าง, ตายบ้าง, และโยกย้ายไปประจำทางอื่นดังกล่าวแล้วบ้าง ในที่สุด วงดนตรีสากลที่เคยเชิดชูเกียรติยศของประเทศตลอดมา ก็เริ่มทรุดโทรมลงสู่ความหายนะอย่างรวดเร็ว

สมบัติของวงดนตรีที่มีอยู่ส่วนมากเกือบทั้งหมดได้ติดมาเมื่อย้ายจากราชสำนักสู่กรมศิลปากร สิ่งของเหล่านี้มีเครื่องดนตรีต่าง ๆ อย่างมากมาย, บทเพลงนับจำนวน ๑,๐๐๐ กว่าบท เครื่องอุปกรณ์ เช่น ตู้, 

– 84 –