ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๓).djvu/64

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๙

อาจารย์จัน ๑ พระอาจารย์ทอง ๑ พระอาจารย์เกิด ๑ แต่ล้วนเปนอลัชชีมิได้ลอายแก่บาปทั้งนั้น แล้วจัดแจงกองทัพยกลงมาตีเมืองพระพิศณุโลก ตั้งค่ายล้อมเมืองทั้งสองฟากน้ำ แลเจ้าพิศณุโลกยกพลทหารออกต่อรบเปนสามารถ ทัพฝางจะหักเอาเมืองมิได้ แต่รบกันอยู่ประมาณหกเดือน ทัพฝางก็พากันเลิกกลับไปเมือง.

ฝ่ายแผ่นดินข้างปาก[1] ใต้ก็มีเจ้าขึ้นอิกตำบลหนึ่ง คือ เมื่อครั้งกรุงยังไม่เสียนั้น ทรงพระกรุณาโปรดให้พระยาราชสุภาวดีออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช ให้หลวงนายสิทธิ์ออกไปเปนพระปลัด แลเจ้าพระยานครศรีธรรมราชนั้นถูกอุทธรณ์ต้องถอดกลับเข้ามาณกรุง จึงโปรดให้พระปลัดว่าราชการเมืองอยู่ ภายหลังยังหาได้ตั้งเจ้าเมืองไม่ ครั้นพระปลัดรู้ข่าวว่า กรุงเทพมหานครเสียแก่พม่า หาพระเจ้าแผ่นดินมิได้แล้ว จึงตั้งตัวขึ้นเปนเจ้าครองเมืองนครศรีธรรมราช คนทั้งหลายเรียกว่าเจ้านคร มีอาณาเขตรแผ่ไปฝ่ายข้างนอกถึงแดนเมืองแขก ข้างในถึงเมืองชุมพร เมืองปทิว แบ่งแผ่นดินออกไปอิกส่วนหนึ่ง แลราษฎรทั้งหลายในหัวเมืองปากใต้ฝ่ายตระวันตกก็นับถืออยู่ในอำนาจเจ้านครทั้งสิ้น แล้วตั้งแต่งขุนนางตามตำแหน่งเหมือนในกรุงเทพมหานครนั้น.

ฝ่ายเจ้ากรมหมื่นเทพพิพิธ กับพระยารัตนาธิเบศ แลขุนนางซึ่งหนีออกไปจากกรุงเปนหลายนาย พาสมัคพรรคพวกไพร่พลครอบครัวหนีพม่าไปแต่เมืองปราจิณ ขึ้นทางด่านช่องเรือ แตกไปณเมืองนครราชสิมาแต่ครั้งกรุงยังไม่เสียนั้น ไปตั้งอยู่ณด่านโคกพระยา พอ


  1. เดิมว่า ปักษ์