ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:พงศาวดาร - ศธ (๑) - ๒๔๔๔.pdf/13

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
คำนำ

ซึ่งมีลักษณเปนใบบอก ครูจงให้นักเรียนแต่งเปนใบบอกราชการขึ้นบ้าง ตามตัวอย่างที่วางไว้ข้างท้ายเล่ม ๒ เล่ม ๓ นั้น

ถ้าเรื่องที่จะทำนั้นจะเปนวิธีรายงาน ก็ให้ทำเปนรายงานระยะทาง, หรือวิธีชมนกชมไม้แลชมสัตว์หรือมัจฉาชาติ์โดยลำนำต่าง ๆ ก็ได้ ซึ่งใช้เกี่ยวไปในสยามเวยยากรณ์ฉันทลักษณ์นั้น

ถ้าถึงที่ข้าศึกขบขันเข้าก็ดี หรือมีพระราชศาสน์ศุภอักษรมาก็ดี ครูควรตั้งคำถามให้ศิษย์ตอบคำหารือแก้กระบวนศึกแลแต่งตอบราชศาสน์ศุภอักษรด้วยก็ได้

ครูต้องหาเรื่องในพระราชพงษาวดารนี้มาตั้งคำถามให้มาก ๆ "เช่น ตัวอย่างว่า ปืนใหญ่บอกหนึ่งหนักมากเหลือกำลังที่จะชักรอกขันกว้านขึ้นชั่งให้รู้ว่าหนักเท่าไรนั้น นักเรียนจะคิดอย่างไรจึ่งจะรู้น้ำหนักปืนได้" ดั่งนี้เปนต้น หรือในคำปฤกษาหารือพระราชโองการดำรัสถามก็ดี แม่ทัพหารือก็ดี ควรถามสำหรับให้เด็กตอบได้จำเรื่องแม่นเปนตอน ๆ แล้วก็จะต่อเรื่องกันง่าย ให้ดูหมายเหตุ์เบ็ตเล็ดข้างท้ายแล้วเล่าเรื่องหรือแต่งเรื่องบ้าง ตามแต่ครูคิดเห็นว่าข้อใดควร

อนึ่ง เปนนิยมอย่างหนึ่งที่นักเรียนทุกคนจะถือไว้ในใจด้วยจะเปนนักเลงอ่านหนังสือ คือว่า ถ้าพบหนังสือหรือจะอ่านเมื่อใดก็ดี ต้องดูหนังสือหรือเรื่องแลคำนำบานพแนกสารบานเรื่องหมายเหตุ์ของหนังสือให้จงได้ หนังสือพระราชพงษาวดารนี้ เราย่อมนับถือว่า เปนหนังสือสำหรับชาติ์ของเรา ๆ จะไม่รู้กันเลยนั้น เท่ากับเราไม่รู้จักตัวของเราเอ็ง ก็ตัวของเราเอ็งไม่รู้จักแล้ว เราจะรู้จักคนอื่นอย่างไรได้ ฯลฯลฯ

  • หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ปลัดกรม ๆ ศึกษาธิการ
  • ร,ศ, ๑๒๐