หน้า:พรก หมิ่นประมาท รศ ๑๑๘.pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๙ เมษายน ๑๑๘
เล่ม ๑๖ น่า ๒๐
ราชกิจจานุเบกษา

ไว้ไม่เกินกว่า ๓ ปี ฤๅให้ปรับเปนเงินไม่เกินกว่า ๑๕๐๐ บาท ฤๅทั้งจำคุกและปรับด้วย

แต่ถ้าในเมืองต่างประเทศของสมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้าฤๅมหาประธานาธิบดีซึ่งถูกหมิ่นประมาทนั้นไม่มีกฎหมายห้ามและลงโทษคนในบังคับของเมืองต่างประเทศนั้นในการหมิ่นประมาทพระผู้เปนเจ้าซึ่งดำรงสยามรัฐมณฑล โดยกล่าวเจรจาปาก ฤๅเขียนด้วยลายลักษณอักษร ฤๅกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในที่เปิดเผยท่ามกลางประชุมชนทั้งหลายด้วยกายวาจาอันมิบังควรซึ่งเปนที่แลเห็นได้ชัดว่า เปนการหมิ่นประมาทแล้ว ก็ห้ามมิให้ฟ้องและมิให้ลงโทษแก่ผู้หมิ่นประมาทสมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้าฤๅมหาประธานาธิบดีผู้ครองเมืองต่างประเทศตามมาตรานี้เหมือนกัน

มาตราผู้ใดกล่าวเจรจาด้วยปากในท่ามกลางประชุมชนทั้งหลาย ด้วยตนเองก็ดี ฤๅโฆษนาประกาศด้วยตัวเองก็ดี ฤๅสำแดงด้วยตนเองก็ดี ฤๅยังให้ผู้อื่นทำแทนตัวเองก็ดี ในสรรพถ้อยคำวาจา ฤๅลายลักษณอักษร ฤๅเครื่องหมายต่าง ๆ ฤๅสิ่งอื่นอันเปนที่ให้เข้าใจได้ชัดเจนฤๅให้เปนที่แลเห็นได้ชัดเจน ซึ่งเปนข้อความฤๅสิ่งที่มิบังควร ด้วยมีความปราถนาจะให้เปนเหตุอันร้าย ๓ ประการ ดังนี้ คือ

ข้อเพื่อจะยุยงส่งเสิมให้อาณาประชาราษฎรทั้งหลายคิดเอาใจออกหากจากความซื่อสัตย์สวามิภักดิ์ต่อพระผู้เปนเจ้าซึ่งดำรงสยามรัฐมณฑลก็ดี ฤๅเพื่อจะยังให้รัฐบาลฤๅพระราชประเพณีสำหรับการปกครองบ้านเมืองอันได้ตั้งขึ้นไว้แล้วตามกฎหมาย ฤๅรัฐ

มนตรีสภา ฤๅการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงตามกฎหมายของสยามรัฐมณฑลนี้ก็ดี ให้เปนที่หมิ่นประมาทดูถูกในท่ามกลางประชุมชนทั้งหลายทั่วไป ประการหนึ่ง

ข้อเพื่อจะยุยงส่งเสิมให้อาณาประชาราษฎรทั้งหลายคิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพระราชประเพณีราชการสำหรับปกครองสยามรัฐมณฑลอันได้ตั้งขึ้นไว้แล้วตามกฎหมาย ในทางใดทางหนึ่งนอกจากทางที่ชอบด้วยกฎหมาย ประการหนึ่ง และ

ข้อเพื่อจะยุยงส่งเสิมให้อาณาประชาราษฎรทั้งหลายมีใจเกลียดชังซึ่งกันแลกัน แล้วก่อการประทุษฐร้ายกันต่าง ๆ ประการหนึ่ง ท่านว่า ผู้นั้นกระทำผิด

เมื่อพิจารณาเปนสัตย์ว่า ผู้นั้นกระทำผิดต่อข้อห้ามดังเช่นกล่าวมาแล้ว ก็ให้จำคุกไว้มีกำหนดไม่เกินกว่า ๓ ปี ฤๅให้ปรับเปนเงินไม่เกินกว่ากว่า ๑๕๐๐ บาท ฤๅทั้งจำคุกแลปรับด้วย เว้นไว้แต่ผู้นั้นมีความประสงค์แต่จะชี้แจงความพลั้งพลาดฤๅความไม่เต็มบริบูรณในการปฏิบัติน่าที่ราชการของรัฐบาลก็ดี ฤๅในข้อความของพระราชประเพณีสำหรับปกครองบ้านเมืองอันได้ตั้งขึ้นไว้แล้วตามกฎหมายทั้งหมดฤๅแต่ส่วนใดส่วนหนึ่งก็ดี ฤๅในข้อความของการพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมาย คือ

ข้อกล่าวคือ ผู้นั้นซึ่งกล่าวเจรจาพูดฤๅเขียนโฆษนาประกาศเห็นว่า การปฏิบัติน่าที่ราชการของรัฐบาลอย่างนั้น ฤๅพระราชประเพณีสำหรับปกครองบ้านเมืองอย่างนั้น จะเปนดีกว่าฤๅจะเปนที่พอใจกว่าการปฏิบัติน่าที่ราชการของรัฐบาลฤๅพระราชประเพณี