หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/28

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๗

พรามหณ์เจือปนไปทั้งสิ้น จึงเห็นได้ว่าเมื่อกฎหมายนี้ได้เข้ามาถึงกรุงสยาม คงจะพราหมณ์ผู้ที่ชำนาญในการที่จะปกครองบ้านเมือง แลที่จะจัดการวางแบบแผนราชประเพณีของพระเจ้าแผ่นดินคนหนึ่งฤาหลายคนได้เข้ามาเปนผู้ช่วยจัดการวางแบบแผนทั้งปวงแต่เดิมมา ถ้าจะพูดอย่างเช่นพม่าชักเชื้อแถวราชตระกูลให้ติดต่อกับวงษสักยราช ก็จะกล่าวได้ว่าคงจะมีพระเจ้าแผ่นดินในวงษสักยราช ก็จะกล่าวได้ว่าคงจะมีพระเจ้าแผ่นดินในวงษสักยราชพระองค์ใดพระองค์หนึ่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งต้องออกจากประเทศอินเดีย มาพร้อมด้วยปุโรหิตผู้ใหญ่แลขุนนางไพร่พลทั้งปวง แล้วมาอยู่ในประเทศสยามพระเจ้าแผ่นดินจึงโปรดให้ปุโรหิตผู้นั้นจัดการวางแบบอย่าง การที่จะปกครองรักษาพระนครใหม่ให้เรียบร้อยสมควนแก่ที่จะเปนพระนครใหญ่สืบไป ปุโรหิตนั้นจึงได้ยกมนูสารสาตรนี้มาตั้งเปนหลัก ที่จะได้บัญญัติพระราชกำหนดกฎหมายสืบไป แลจัดธรรมเนียมอื่นๆตามแบบอย่างพระนครข้างฝ่ายอินเดียแต่โบราณนั้นทั่วไป ปุโรหิตผู้นั้นคงจะเปนผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในมนูสารสาตรของเดิม แลพระราชกำหนดกฎหมายซึ่งได้บัญญัติขึ้นใหม่ เพราะเปนผู้ต้นตำราแลเปนผู้ได้เรียบเรียงตั้งแต่งขึ้น ทั้งเปนพราหมณ์ประพฤติตั้งอยู่ในความสุจริต จึงเปนที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดินแลเปนที่นับถือของข้าราชการแลราษฎรทั้งปวง พระเจ้าแผ่นดินจึงมอบการที่จะบังคับบัญชาความสิทธิ์ขาดนี้แก่ปุโรหิตผู้นั้น เปนผู้บังคับตัดสินใจถ้อยความทั้งปวงเด็ดขาดทั่วไปทั้งพระนคร แลปุโรหิตเช่นนี้จะมีมาแต่ผู้เดียวฤาหลายคนก็ดีด็คงจะต้องมีผู้ช่วบเปนที่ปฤกษาหาฤาหลายๆคน ชึงจะพอที่จะทำการ