หน้า:พิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีแดง 1606 2559.pdf/14

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๑๔

ดำเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงมีสิทธิฟ้องคดีตามมาตรา ๔๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากการเป็นนักเรียนหอพักนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อ้างว่าเป็นการใช้อำนาจตามระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง พุทธศักราช ๒๕๔๙ เมื่อการมีคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดังกล่าว กระทบต่อสิทธิในการอยู่หอพักโรงเรียนของผู้ฟ้องคดี คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากการเป็นนักเรียนหอพักจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เมื่อนางอารีย์ ชิดชู ผู้ปกครองผู้ฟ้องคดีไปพบผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้แจ้งด้วยวาจาให้นางอารีย์ทราบว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ต้องลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีออกจากหอพักโรงเรียน เนื่องจากการกระทำผิดกฎระเบียบของโรงเรียนและเตรียมหาโรงเรียนใหม่ด้วย การแจ้งดังกล่าวย่อมทำให้ผู้ปกครองผู้ฟ้องคดีเข้าใจว่าการลงโทษให้พ้นจากการเป็นนักเรียนหอพักทำให้ผู้ปกครองผู้ฟ้องคดีเข้าใจว่าการลงโทษให้พ้นจากการเป็นนักเรียนหอพักทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียนของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ไปด้วย ซึ่งการอุทธรณ์คำสั่งในกรณีนี้ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาตามข้อ ๘๐ ของระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนฯ ดังนั้น การที่ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ต่อคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา จึงชอบแล้ว และขณะฟ้องคดีผู้ถูกฟ้องคดีมีอายุ ๑๖ ปีเศษแล้ว และฟ้องคดีโดยได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมแล้วด้วย ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีจึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยการพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๒๗ ข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงไม่อาจรับฟังได้

ประเด็นที่สอง การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งตามหนังสือ ที่ ศธ ๐๔๐๕๒.๐๐๒/๑๒๑ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยมีกรณีที่จะต้องพิจารณาก่อนว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีอำนาจที่จะลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียนหอพักของโรงเรียนได้หรือไม่ เห็นว่า จากระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ข้อ ๗ ข้อ ๘ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม ข้อ ๙ และข้อ ๑๐ วรรคหนึ่ง จะเห็นว่า

/ในกรณีที่...