หน้า:ระเบียบ สนร (๒๕๖๖-๐๑-๓๑).pdf/2

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๒๓ ง

๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
หน้า ๒
ราชกิจจานุเบกษา

หมวด ๑
การจัดทําราชกิจจานุเบกษา


ข้อให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดทำราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ประชาชนสามารถเข้าอ่านและค้นหาได้โดยสะดวก

เพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานและตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องตรงกันกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง ให้จัดทำหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นรูปเล่มจำนวนหนึ่งด้วยเพื่อเก็บรักษาไว้ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหอสมุดแห่งชาติตามจำนวนที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนด

ราชกิจจานุเบกษาที่จัดทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง หรือที่จัดทำเป็นรูปเล่มตามวรรคสอง เป็นต้นฉบับที่ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานของทางราชการได้เช่นเดียวกัน เว้นแต่ในกรณีที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งมีข้อความไม่ตรงกับหนังสือราชกิจจานุเบกษาตามวรรคสอง ให้ถือตามหนังสือราชกิจจานุเบกษาตามวรรคสอง

ข้อเรื่องที่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษามีดังต่อไปนี้

(๑)กฎหมายและอนุบัญญัติ

(๒)กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่มีกฎหมายกำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือที่มีผลบังคับหรือกระทบต่อประชาชน และคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรกำหนดให้ประกาศให้ประชาชนทราบ

(๓)เรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือที่มีกฎหมายหรืออนุบัญญัติกำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

(๔)เรื่องสำคัญอื่นที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

ข้อการจัดทำราชกิจจานุเบกษา ให้จัดทำแยกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังต่อไปนี้

(๑)ประเภทฉบับกฤษฎีกา เป็นการประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย อนุบัญญัติ และเรื่องที่มีผลบังคับหรือผลกระทบต่อประชาชน

(๒)ประเภทฉบับทะเบียนฐานันดร เป็นการประกาศเกี่ยวกับพระบรมราชโองการ พระราชกิจ และกิจการเกี่ยวกับพระราชสำนัก

(๓)ประเภทฉบับทะเบียนการค้า เป็นการประกาศเรื่องเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจํากัด

(๔)ประเภทฉบับประกาศและงานทั่วไป เป็นการประกาศเรื่องอื่น ๆ รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับการล้มละลาย

ให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรีประกาศรายละเอียดและตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องที่จะลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแต่ละประเภทให้ประชาชนทราบ