ชะนะพระมหาอุปราชาเมืองหงสาวดีก็ดี โบราณสถานอย่างนี้นับว่าเป็นของสำคัญในพงศาวดาร แม้ถึงซากเมืองโบราณที่ยังรู้เรื่องไม่ได้ ก็ต้องนับว่าเป็นของสำคัญในพงศาวดาร เพราะอาจจะเป็นหลักฐานให้ผู้ศึกษาโบราณคดีในภายหน้าค้นเรื่องพงศาวดารได้ต่อไป เนื่องในข้อที่กล่าวนี้ มีเรื่องที่ข้าพเจ้ายังไม่หายเสียดายอยู่เรื่องหนึ่ง คือ เมื่อเริ่มสร้างรถไฟสายใต้ใน พ.ศ. ๒๔๘๓ เวลานั้นท้องที่รอบพระปฐมเจดีย์ยังเป็นป่าเปลี่ยวอยู่โดยมาก ในป่าเหล่านั้นมีซากพระเจดีย์โบราณขนาดใหญ่ ๆ ซึ่งสร้างทันสมัยพระปฐมเจดีย์อยู่หลายองค์ พวกรับเหมาทำทางรถไฟไปรื้อเอาอิฐพระเจดีย์เก่ามากถมเป็นอับเฉากลางรางรถไฟ ได้อิฐพอถมตั้งแต่สถานีบางกอกน้อยไปตลอดระยะทางกว่า ๕๐ กิโลเมตร ขอให้คิดดูก็จะเห็นได้ว่า รื้อพระเจดีย์ที่เป็นของควรสงวนเสียสักกี่องค์ เมื่อย้ายที่ว่าการมณฑลจากริมแม่น้ำขึ้นไปตั้งณตำบลพระปฐมเจดีย์สิรื้อกันเสียหมดแล้ว ก็ได้แต่เก็บศิลาเครื่องประดับพระเจดีย์เก่าเหล่านั้นมารวบรวมรักษาไว้ ยังปรากฎอยู่รอบพระระเบียงพระปฐมเจดีย์บัดนี้ ถ้ามีราชบัณฑิตยสภาอยู่ในเวลานั้น ก็จะหาเป็นเช่นนั้นไม่ ส่วนโบราณวัตถุที่เป็นของสำคัญในพงศาวดารมีสิ่งซึ่งจะชี้ได้อยู่ในห้องประชุมนี้เอง ในหนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๑ (นับเวลามาจนบัดนี้ได้สี่ร้อยกับสองปี) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างรูปพระ
หน้า:สงวนของ - ดำรง - ๒๔๗๓.pdf/15
หน้าตา