หน้า:หลักภาษาไทย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณะ.pdf/24

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๑๔

เสียงพยัญชนะทั้ง ๒๐ ตัวนี้ ถ้าจะผันด้วยวรรณยุกต์ทั้ง ๕ ทุกตัวก็มีสำเนียงพอใช้ในภาษาไทย ที่ต้องใช้รูปพยัญชนะซ้ำกันมากออกไปนั้น ก็เพื่อใช้ตัวหนังสือให้ตรงกับภาษาเดิมที่เรานำมาใช้เป็นข้อใหญ่

จำแนกพยัญชนะ ข้อ ๑๕. พยัญชนะทั้ง ๔๔ นั้น จำแนกตามวิธีใช้เป็น ๓ พวก ดังนี้:–

(๑) พยัญชนะกลาง คือพยัญชนะที่ใช้เป็นกลางทั่วไปทั้งไทย บาลี และสันสกฤต มี ๒๑ ตัวคือ:–

                    

(๒) พยัญชนะเดิม คือพยัญชนะที่ติดมาจากแบบเดิม มีที่ใช้ก้แต่คำที่มาจากภาษาเดิม คือ บสลี และสันสกฤตโดยมมาก มี ๑๓ ตัว คือ:–

            

พยัญชนะเหล่านี้ บางตัวก็ใช้เขียนแทนภาษาไทยบ้าง แต่มีน้อย นับว่าเป็นพิเศษ เช่น:–

ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ระฆัง ตะเฆ่ ใหญ่ หญ้า (พืช) หญิง ผุ้เฒ่า ณ (ใน) ธง เธอ สำเภา ตะเภา เภตรา อำเภอ เสภา ภาย (เช่นภายใน) เศร้า ศึก (ศัตรู) เศิก ฯลฯ และใชัเป้นตัวสะกดก็มีบ้าง เช่น เจริญ ขวัญ หาญ เพ็ญ เทอญ ชาญ พิศ ปราศ บำราศ ดาษดา ฯลฯ

(๓) พยัญชนะเติม คือพยัญชนะที่ไทยเราคิดเพิ่มเติมขึ้นที่หลัง มี ๑๐ ตัว คือ:–