หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/10

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๓๗ 

จะสุขขึ้นอยู่ที่ความพอใจของเจ้าของที่ดินเป็นเกณฑ์

ตามที่กล่าวมานี้ ศักดินาจึงมิได้มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า "อํานาจในการครอบครองที่ดินอันเป็นปัจจัยสำคัญในการทำมาหากิน" แต่อย่างเดียว หากโดยความเป็นจริงแล้วมันได้หมายรวมถึง "อํานาจและอิทธิพลของมนุษย์ที่มีมากหรือน้อยตามขนาดหรือปริมาณของที่ดินอันเป็นปัจจัยสำคัญในการทำมาหากิน" อีกโสดหนึ่งด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น เจ้าของที่ดินทั้งปวงผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมยังได้พยายามสั่งสอนอบรมพวกไพร่พวกเลกให้มองเห็นว่า ตนเป็นผู้ประเสริฐ เป็นเจ้าของชีวิตตามประเพณีนิยมต่างๆ ของพวกตนก็ดี รูปแบบชีวิตของพวกตน เป็นต้นว่า กิริยามารยาท การพูดจา ฯลฯ ก็ดี การบันเทิงเริงใจของพวกตนไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลง, บรรเลงดนตรี, ละคร, วรรณคดี ฯลฯ ก็ดี เป็นสิ่งที่ไพร่และเลกควรถือเป็นแบบฉบับ,ควรยกย่องและตามอย่าง ทั้งนี้ ก็เพื่อจะได้ชุบย้อมจิตใจของพวกไพร่พวกเลกให้นิยมชมชอบพวกตน และยอมรับในสถาบันของพวกตนตลอดไป โดยถือว่าเป็นของถูกต้องและเป็นธรรม นั่นก็หมายถึงว่าผู้ที่มีอำนาจในการครอบครองที่ดินย่อมมีอำนาจในการกำหนดรูปแบบชีวิต อันเป็นปัญหาทางวัฒนธรรมด้วยอีกด้านหนึ่ง

ดังนั้น ศักดินา จึงนอกจากจะหมายถึง "อำนาจในการครอบครองที่ดินอันเป็นปัจจัยสำคัญในการทำมาหากิน" ซึ่งเป็นความหมายทางด้านเศรษฐกิจ และนอกจากจะหมายถึง "อำนาจและอิทธิพลของมนุษย์ที่มีมากหรือน้อยตามขนาดหรือปริมาณของที่ดินอันเป็นปัจจัยสำคัญในการทำมาหากิน" ซึ่ง