หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/132

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๕๙ 

"ทรงพระราชอุทิศยกไปเป็นที่สงฆ์ ให้สงฆ์เป็นเจ้าของด้วย ให้บริโภคค่านาเป็นกัลปนาด้วย เหมือนหนึ่งราษฎรเช่านาท่านผู้อื่นทำ ต้องเสียค่าเช่าให้เจ้าของนาด้วย ต้องเสียค่านาแทนเจ้าของด้วยฉันใด ผู้ที่เข้าไปทำนาในที่ของสงฆ์อันนั้น ต้องเสียค่าเช่าส่วนหนึ่ง ค่านาส่วนหนึ่ง เป็นของสงฆ์ทั้งสองส่วน"

ที่กล่าวมานี้ เป็นการอุทิศถวายที่กัลปนาอย่างพิเศษซึ่งที่ตกเป็นของสงฆ์เด็ดขาด รัฐไม่เก็บภาษีที่ดินจากสงฆ์เลย นี่เป็นอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเป็นการถวายที่แบบธรรมดา วิธีนี้วัดเก็บค่าเช่าแต่อย่างเดียว ฝ่ายกษัตริย์เก็บค่านา ผู้เช่าจึงเสียค่าเช่าให้วัดและเสียค่านาให้หลวง แต่รวมความแล้ว ผู้เช่าก็ต้องเสียทั้งสองชั้นทั้งนั้น ผิดกันก็ที่จะเสียให้แก่ใครเท่านั้น

ส่วนพระภิกษุสงฆ์ในวัด เมื่อเก็บได้ผลประโยชน์เท่าใดจากที่ดิน ก็จะแบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งใช้บำรุงพระพุทธ นั่นคือใช้เพื่อซื้อดอกไม้ธูปเทียน น้ำมันสำหรับบูชาพระบ้าง ซ่อมแซมพระบ้างโบสถ์บ้าง แต่ส่วนนี้ไม่ค่อยได้ใช้เท่าใดนัก เช่น น้ำมันตามตะเกียงบูชาพระ ถ้าเป็นวัดหลวงกษัตริย์ก็พระราชทานให้ (ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔) ส่วนที่สองใช้บำรุงพระธรรมนั้นก็คือสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถาฎีกา ทำตู้พระธรรม ฯลฯ ส่วนที่สามใช้บำรุงพระสงฆ์ไปตามลำดับยศศักดิ์

ในพระอัยการตำแหน่งนาพลเรือนกำาหนดตำแหน่งศักดินานักบวชไว้เป็นลำดับ ตั้งแต่ศักดินานา ๒,๔๐๐ ลงมาจนนา ๑๐๐ อัตราศักดินาของนักบวชนี้ พระอัยการใช้คำว่า "เสมอนา" เช่น พระครูมิได้รู้ธรรมเสมอนา ๑,๐๐๐ ซึ่งหมายความว่า พระครูมิได้รู้ธรรมให้มีผลประโยชน์ และบรรดาศักดิ์เสมอกับขุนนางที่มีศักดินา ๑,๐๐๐ ที่ต้องใช้เช่นนี้ ก็เพราะกษัตริย์มิได้แจกจ่ายที่ดินให้แก่พระสงฆ์หรือ