ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/134

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๖๑ 

ได้รับพระราชทานทั้งสิ้นในครั้งนั้น ๑๙๕ วัด เนื้อที่ของวิสุงคามสีมาที่พระราชทานทั้งสิ้นประมาณ ๑๐๘,๒๑๘,๖๔๐ ตารางเมตร (ประมาณ ๖๗,๖๓๗ ไร่เศษ)๙๐ ตัวเลขนี้คงพอจะให้ความคิดได้บ้างอย่างคร่าวๆ ว่า วัดทั่วประเทศจะมีที่ดินในครอบครองสำหรับแสวงหาผลประโยชน์สักเท่าใด

นอกจากวัดในพระพุทธศาสนาแล้ว วัดในคริสต์ศาสนาของพวกบาทหลวงฝรั่งเศสก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ซื้อหาที่ดินได้ เพื่อทำการเพาะปลูกแสวงหาผลประโยชน์เป็นทุนในการเผยแพร่ศาสนา ทั้งนี้ตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลศักดินาไทยกับรัฐบาลจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสในหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีทางการค้าขายและการเดินเรือ ลงวันศุกร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปี มะโรง พ.ศ. ๒๓๙๙ (ในรัชกาลที่ ๔) ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๕ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๕๖

ที่ดินที่อนุญาตให้พวกวัดฝรั่งเศสหรือมิสซังแสวงหาผลประโยชน์นี้ กำหนดให้ไม่เกินอัตราเมืองละสามพันไร่ ทั้งนี้ โดยไม่คิดเนื้อที่ที่ใช้ตั้งวัดรวมด้วย แต่อัตรานี้ ก็มีข้อยกเว้นเป็นแห่งเป็ นที่เหมือนกัน เช่น เมืองชลบุรีให้เพิ่มเนื้อที่ดินขึ้นเป็น ๑๔,๐๐๐ ไร่ เมืองราชบุรีเป็น ๑๓,๐๐๐ ไร่ เมืองฉะเชิงเทรา ๙,๐๐๐ ไร่

รายชื่อเมืองและที่ดินของวัดบาทหลวงฝรั่งเศสในวันที่ออกพระราชบัญญัติมิสซัง มีดังนี้

๑. มณฑลกรุงเทพฯ

กรุงเทพ ๔๐๒ ไร่
นครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) ๓๕ ไร่
สมุทรปราการ ๔๐ ไร่
ธัญบุรี ๑๐๐ ไร่