หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/192

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๒๑๙ 

เก็บฝังดินไว้มากไม่เอาออกใช้" คือกลับเห็นไปว่าราษฎรรักเงิน เอาเงินฝังดินไม่ยอมขุดขึ้นมาซื้อข้าวกิน ยอมตายเพราะเสียดายเงิน!

เมื่อคิดเห็นไปเช่นนี้ ก็ตั้งหวย ก.ข. ขึ้น ในปี แรกได้อากร ๒๐,๐๐๐ บาท พวกประชาชนที่ตกทุกข์ได้ยากก็หันเหเข้าหาอาจารย์บอกใบ้หวยหวังรวยกันยกใหญ่ แทงหวยกันทุกวัน คนละเฟื้องคนละสลึง แทงทุกวันยิ่งเล่นประชาชนก็ยิ่งจนลงทุกวัน ผู้ผูกขาดภาษีกับรัฐบาลก็รวยขึ้นเท่าๆ กับที่ประชาชนจนลง อลัชชีฉวยโอกาสก็มอมเมาเป่าเสกบอกหวยเสียจนประชาชนงอมพระรามไปตามๆ กัน การเล่นหวยระบาดไปจนเสียกระทั่ง "พอถึงเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ มีคนเข้ามากรุงเทพฯ มากมายหลายร้อยหลายพัน มาทั้งทางรถไฟแลทางเรือ ถึงเพลาค่ำลงคนแน่นท้องถนน ตั้งแต่หน้าโรงหวยสามยอดไปจนในถนนเจริญกรุงทุกปี"๑๒๓ ที่พากันลงมากันมากมายนั้นก็เพื่อมาแทงหวย เพราะหวยมีแต่ในมณฑลกรุงเทพฯ รวมทั้งสิ้น ๓๘ แขวง (เคยออกไปตั้งที่เพชรบุรีและอยุธยา เล่นเอาคนจนกรอบไปทั้งสองเมือง ภายหลังจึงต้องเลิก)

รัฐบาลศักดินาได้รายได้จากการเก็บอากรหวย ก.ข. นี้เป็นจำนวนมากมายทุกปี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้ปีละราว ๒๐๐,๐๐๐ บาท ในรัชกาลที่ ๕ เงินอากรหวยและอากรบ่อนเบี้ยรวมกันได้ถึงปี ละ ๙,๑๗๐,๖๓๕ บาท ภายหลังแม้จะเลิกบ่อนเบี้ยไปมากแล้ว อากรทั้ง ๒ อย่างก็ยังรวมกันเป็นจำนวนถึง ๖,๖๐๐,๐๐๐ บาท (พ.ศ. ๒๔๕๘) เฉพาะอากรหวยอย่างเดียวในปีท้ายสุดก่อนเลิกยังได้ถึง ๓,๔๒๐,๐๐๐ บาท (หวย ก.ข. เลิก พ.ศ. ๒๔๕๙)

นอกจากภาษีอากรที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอากรใหญ่น้อยอีกหลายสิบอย่าง มีรายการยืดยาว เป็ต้นว่า ภาษีกระทะ, ภาษีไต้ชัน, ภาษีพริกไทย, ภาษีเขาควาย ฯลฯ ขอสรุปว่าในรัชกาลที่ ๓