หน้า:Constitutional imperialism in Japan (IA constitutionalim00clemrich).pdf/15

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
ตอน 3]
7
พระราชอำนาจ

ว่า นักกฎหมายชาวอังกฤษคนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ปรึกษาให้แก่รัฐบาลญี่ปุ่น เอาพระปรมาภิไธยจักรพรรดิมาใช้ในคำให้การของตนเองในคดีของศาลกงสุลอังกฤษที่โยโกฮามะ!

รัฐธรรมนูญกล่าวอย่างเด็ดขาดอีกว่า

"จักรพรรดิทรงเป็นประมุขของจักรวรรดิ ทรงนำสิทธิทั้งหลายในความเป็นรัฏฐาธิปัตย์มารวมไว้ในพระองค์เอง และทรงใช้สิทธิเหล่านั้น ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้"[1]

ในอรรถกาถาว่าด้วยมาตรานี้ อิโตระบุถึงจักรพรรดิว่า

"ผู้ทรงความสูงส่งเป็นที่สุดผู้นี้ ผู้ที่ทรงกุมเส้นใยอันแตกแขนงทั้งหลายของชีวิตทางการเมืองแห่งประเทศเอาไว้ในเงื้อมพระหัตถ์ จะว่าดั่งนั้นก็ได้ เสมือนสมองในกายคนซึ่งเป็นแหล่งที่มาแรกสุดของมโนกรรมทั้งปวงที่ปรากฏผ่านแขนขาทั้ง 4 และภาคส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย"[2]

ใช่แต่จักรพรรดิจะทรงใช้อำนาจบริหารแห่งรัฐ แต่ตามมาตราอันเฉพาะเจาะจงมาตราหนึ่ง[3] "จักรพรรดิ[ยัง]ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติด้วยความยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิ" และตามมาตรา 6 โดยที่จักรพรรดิ "ทรงอนุมัติกฎหมาย และทรงบัญชาให้นำกฎหมายไปประกาศใช้และบังคับใช้" สิ่งที่สืบเนื่องมาตามธรรมดาและตามตรรกะแล้ว ก็คือ "ทรงมีอำนาจที่จะไม่อนุมัติก็ได้ด้วย" ตามความเห็นของอิโต[4] อูเอฮาระเขียนถึงประเด็นนี้ว่า

"การที่องค์อธิปัตย์จะทรงอนุมัติร่างกฎหมายนั้น เป็นจุดสุดท้ายในกระบวนการนิติบัญญัติญี่ปุ่น จักรพรรดิทรงมีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติก็ได้ เพราะฉะนั้น ท่านอาจกล่าวได้ว่า จักรพรรดิทรงยับยั้งกฎหมายทั้งปวงได้อย่างเต็มที่ ไม่มีวิธีใดในทางรัฐธรรมนูญที่สภานิติบัญญัติจะลบล้างการยับยั้งของจักรพรรดินี้ได้เลย"[5]

ประการหนึ่ง การที่จักรพรรดิจะทรงควบคุมองค์กรนิติบัญญัติ คือ สภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิ นั้น ปรากฏจริงอยู่ในมาตรา 7 ที่ว่า "จักรพรรดิทรงเรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิ ทรงเปิด ปิด และเลื่อนประชุม และทรงยุบสภาผู้แทนราษฎร"

ข้อที่ว่า รัฐธรรมนูญสงวนอำนาจบางอย่างไว้ให้จักรพรรดิ

  1. มาตรา 4
  2. Op. cit., p. 7.
  3. มาตรา 5
  4. Op. cit., p. 11.
  5. Political Development of Japan, p. 128.
(327)