หน้า:Constitutional imperialism in Japan (IA constitutionalim00clemrich).pdf/48

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
7. สิทธิและหน้าที่ของคนในบังคับ

รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นมีอยู่ 15 มาตรา (มาตรา 18–33) ในหัวข้อเรื่องสิทธิและหน้าที่ของคนในบังคับ รัฐธรรมนูญกล่าวว่า เงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการเป็นคนในบังคับญี่ปุ่นนั้นให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด รัฐธรรมนูญยอมให้คนในบังคับญี่ปุ่นดำรงตำแหน่งหน้าที่สาธารณะได้ตามคุณสมบัติบางประการ รัฐธรรมนูญให้คนในบังคับญี่ปุ่นต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในราชการทหารและในการเสียภาษีตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญระบุว่า ให้คนในบังคับญี่ปุ่นมีเสรีภาพในเคหสถานตามขอบเขตของกฎหมาย ห้ามละเมิดสิทธิของคนในบังคับญี่ปุ่นในเรื่องทรัพย์สิน ห้ามเข้าไปหรือค้นบ้านเรือนของคนในบังคับญี่ปุ่นโดยปราศจากความยินยอมของเขาเหล่านั้น เว้นแต่ในกรณีที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ห้ามละเมิดความลับในจดหมายของคนในบังคับญี่ปุ่น เว้นแต่ในกรณีที่เอ่ยไว้ในกฎหมาย รัฐธรรมนูญยังอนุญาตให้เขาเหล่านั้นถวายฎีกาได้ตามเงื่อนไขบางประการที่เหมาะสม

รัฐธรรมนูญประกาศว่า

"ห้ามจับกุม คุมขัง พิจารณา หรือลงโทษคนในบังคับญี่ปุ่นคนใด ๆ เว้นแต่เป็นไปตามกฎหมาย" (มาตรา 17)

"ห้ามพรากคนในบังคับญี่ปุ่นคนใด ๆ ไปเสียจากสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาจากตุลาการตามที่กฎหมายกำหนด" (มาตรา 24)

รัฐธรรมนูญยังบัญญัติว่า

"ให้คนในบังคับญี่ปุ่นได้อุปโภคเสรีภาพในการพูด การเขียน การเผยแพร่ การประชุมสาธารณะ และการสมาคม ภายในขอบเขตของกฎหมาย" (มาตรา 29)

และว่า

"ให้คนในบังคับญี่ปุ่นได้อุปโภคเสรีภาพในความเชื่อทางศาสนา ภายในขอบเขตที่ไม่เสียหายต่อความสงบเรียบร้อย และไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของตนในฐานะคนในบังคับ" (มาตรา 28)

แน่นอนว่า คงจะเป็นที่สังเกตว่า บรรดาความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ของคนในบังคับญี่ปุ่นนั้นถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขดังเช่น "เป็นไปตามกฎหมาย" "เว้นแต่ในกรณีที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย" "ภายในขอบเขตที่ไม่เสียหาย

(358)