หน้า:Das Kapital Kritik der politischen Oekonomie Erster Band.djvu/43

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
——3——

และมีในสินค้า (วาเลอร์ แอ็งแทร็งแซ็ก) จึงเป็นความขัดแย้งในคำคุณศัพท์[1] เราลองมองประเด็นให้ละเอียดกว่านี้

สินค้าอย่างหนึ่ง ข้าวสาลีหนึ่งควาร์เทอร์เป็นต้น แลกกับยาขัดรองเท้าได้ หรือผ้าไหมได้ หรือทองคำได้ ฯลฯ กล่าวคือสินค้าชนิดอื่นในอัตราส่วนสุดหลากหลาย ข้าวสาลีจึงมีมูลค่าแลกเปลี่ยนนานัปการแทนที่จะมีเพียงหนึ่งเดียว แต่เพราะยาขัดรองเท้า และผ้าไหม และทองคำ ฯลฯ เป็นมูลค่าแลกเปลี่ยนของข้าวสาลีหนึ่งควาร์เทอร์ ยาขัดรองเท้า ผ้าไหม ทองคำ ฯลฯ ต้องทดแทนกันได้หรือเป็นมูลค่าแลกเปลี่ยนที่มีขนาดเท่ากัน ในขั้นแรกจึงแปลว่า มูลค่าแลกเปลี่ยนที่ถูกต้องต่าง ๆ ของสินค้าอย่างหนึ่งแสดงถึงสิ่งที่เท่ากัน ในขั้นที่สองทว่า มูลค่าแลกเปลี่ยนโดยทั่วไปเป็นได้เพียงวิถีการแสดงออก หรือ „รูปปรากฏ“ ขององค์ประกอบหนึ่งที่จำแนกออกมาได้

อนึ่ง เอาสินค้าสองอย่าง เช่นข้าวสาลีกับเหล็ก อัตราส่วนแลกเปลี่ยนระหว่างกันเท่าใดก็ตามสามารถแสดงในรูปสมการได้เสมอ โดยจับข้าวสาลีปริมาณหนึ่งมาเท่ากับเหล็กอีกปริมาณหนึ่ง อาทิข้าวสาลี 1 ควาร์เทอร์ เหล็ก เซ็นท์เนอร์ สมการนี้บอกอะไร? ว่าในของสองอย่างที่ต่างกันมีสิ่งหนึ่งร่วมกันที่ขนาดเท่ากัน ในข้าวสาลี 1 ควาร์เทอร์และเช่นกันในเหล็ก เซ็นท์เนอร์ ดังนั้น ทั้งสองอย่างเท่ากับสิ่งที่สาม ซึ่งในและโดยตัวเองไม่ใช่ทั้งอย่างหนึ่งหรืออีกอย่าง ทั้งสองเท่าที่เป็นมูลค่าใช้สอยสามารถลดทอนเป็นสิ่งที่สามได้

ตัวอย่างเชิงเรขาคณิตอย่างง่ายจะทำให้เรื่องนี้กระจ่าง ในการหาและเปรียบเทียบพื้นที่ระหว่างรูปหลายเหลี่ยมใด ๆ เราจะแบ่งมันออกเป็นสามเหลี่ยมหลาย ๆ รูป เราลดทอนสามเหลี่ยมอีกกลายเป็นนิพจน์ที่ต่างไปจากรูปที่เรามองเห็นโดยสิ้นเชิง —— ครึ่งหนึ่งของผลคูณระหว่างเส้นฐานกับความสูงของมัน ในทางเดียวกัน เราลดทอนมูลค่าแลกเปลี่ยนของสินค้ากลายเป็นสิ่งที่มีร่วมกันซึ่งแสดงความมากกว่าหรือน้อยกว่า

สิ่งที่มีร่วมกันนี้ไม่สามารถเป็นสมบัติทางเรขาคณิต กายภาพ เคมี หรือธรรมชาติอื่นใดของสินค้า สมบัติทางกายถูกนำมาพิจารณาในฐานะที่ทำให้มีประโยชน์และเป็นมูลค่าใช้สอยเท่านั้น ในอีกด้านหนึ่ง การเพิกจากมูลค่าใช้สอยนั่นเอง

  1. „ไม่มีสิ่งใดมีคุณค่าภายในได้“ (นิโคลัส บาร์บอน เล่มเดิม หน้า 16) หรือตามที่บัตเลอร์กล่าว:
    „คุณค่าของสิ่งหนึ่ง
    เท่ากับที่จะได้กลับมาจากมัน“