ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Das Kapital Kritik der politischen Oekonomie Erster Band.djvu/56

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
——16——

สินค้าเดียวกันจึงไม่สามารถปรากฏในรูปทั้งสองรูปพร้อมกันได้ในการแสดงออกมูลค่าเดียวกัน ทั้งสองรูปแยกขาดจากกันเหมือนเป็นขั้วตรงข้าม

สินค้าจะอยู่ในรูปมูลค่าสัมพัทธ์หรือตรงกันข้ามในรูปสมมูล ขึ้นอยู่กับแค่ตำแหน่งที่อยู่ในการแสดงออกมูลค่าแต่ละครั้ง กล่าวคือมูลค่าที่แสดงออกนั้นเป็นของสินค้า หรือว่ามูลค่านั้นแสดงออกเป็นสินค้า

2) รูปมูลค่าสัมพัทธ์

a) สาระของรูปมูลค่าสัมพัทธ์

เพื่อสืบค้นว่าการแสดงออกมูลค่าแบบเรียบง่ายของสินค้าฝังอยู่ในความสัมพันธ์มูลค่าระหว่างสินค้าสองชิ้นอย่างไร ก่อนอื่น เราจำเป็นที่จะพิจารณาอย่างหลังแยกจากแง่ปริมาณโดยสิ้นเชิง โดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักทำตรงข้าม และมองเฉพาะอัตราส่วนในความสัมพันธ์มูลค่าซึ่งนับว่าสินค้าสองประเภทเสมอกันที่ปริมาณจำเพาะ เรามองข้ามไปว่าการเปรียบเทียบปริมาณของสิ่งที่ต่างกันสามารถทำได้หลังลดทอนเป็นหน่วยเดียวกันแล้วเท่านั้น ต้องแสดงออกเป็นหน่วยเดียวกันถึงมีตัวหารร่วม แล้วจึงจะวัดเทียบขนาดกันได้[1][a]

ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 20 หรือ ตัว ผ้าลินินปริมาณหนึ่งมีค่าเป็นเสื้อคลุมมากน้อยเท่าใด อัตราส่วนใดก็ตามต่างบอกว่าผ้าลินินและเสื้อคลุม ในฐานะขนาดของมูลค่า เป็นการแสดงออกของหน่วยเดียวกัน เป็นสิ่งที่มีธรรมชาติเดียวกัน ผ้าลินิน เสื้อคลุม คือฐานของสมการ

แต่สินค้าทั้งสองที่จับมาให้เสมอกันเชิงคุณภาพไม่ได้มีบทบาทเดียวกัน มูลค่าที่แสดงออกมาเป็นแค่ของผ้าลินิน ได้อย่างไร? ด้วยความสัมพันธ์ที่เสื้อคลุมเป็น "สิ่งสมมูล" หรือ "สิ่งที่แลกเปลี่ยนได้" กับผ้าลินิน ในความสัมพันธ์นี้ เสื้อคลุมนับว่าเป็นรูปของการมีอยู่ของมูลค่า ว่าเป็นสิ่งมีมูลค่า เพราะอย่างนี้เท่านั้นจึงจะเป็นสิ่งเดียวกับผ้าลินิน ในอีกด้านหนึ่ง ผ้าลินินเปิดเผยและได้แสดงออกด้วยตัวเองว่ามันเองนั้นเป็นมูลค่า เพราะในฐานะมูลค่าเท่านั้นจึงจะถือว่า


  1. มีนักเศรษฐศาสตร์ไม่กี่คนที่สนใจวิเคราะห์รูปมูลค่า เช่นซามูเอล เบย์ลีย์ แต่ก็ทำไม่สำเร็จ ประการแรก เพราะสับสนรูปมูลค่ากับมูลค่า ประการที่สอง ใต้อิทธิพลหยาบกร้านของกระฎุมพีปฏิบัตินิยม จึงจ้องแต่ความแน่นอนเชิงปริมาณตั้งแต่ต้น „การกำหนดปริมาณ .... ประกอบมูลค่า“. („Money and its Vicissitudes“. ลอนดอน 1837, หน้า 11). ผู้เขียน ซามูเอล เบย์ลีย์.

  1. "ด้วยการกำหนดปริมาณคือสิ่งที่ประกอบมูลค่า จะต้องใช้สินค้าเอกรูปหนึ่งปริมาณแน่นอนเท่าหนึ่งเป็นหน่วยวัดมูลค่า" Bailey, Samuel (1837). Money and Its Vicissitudes in Value. น. 11. The command of quantity being that which constitutes value, a definite quantity of some uniform commodity must be used as a unit to measure value;  (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)