ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Das Kapital Kritik der politischen Oekonomie Erster Band.djvu/57

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
——17——

เสมอหรือแลกเปลี่ยนกับเสื้อคลุมได้ เหมือนที่กรดบิวทิริกเป็นคนละสารกับโพรพิลฟอร์เมต แม้จะประกอบจากสารเคมีเดียวกัน —— คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) และยังมีส่วนประกอบร้อยละเดียวกัน คือ C4H8O2 หากเราจับโพรพิลฟอร์เมตเสมอกับกรดบิวทิริก ประการแรก ในความสัมพันธ์นี้ โพรพิลฟอร์เมตนับว่าเป็นเพียงรูปของการมีอยู่ของ C4H8O2 ประการที่สอง กล่าวได้ว่ากรดบิวทิริกก็ประกอบจาก C4H8O2 การจับโพรพิลฟอร์เมตเสมอกับกรดบิวทิริกจึงเป็นเพียงการแสดงออกส่วนประกอบทางเคมี มากกว่าจะเป็นการแสดงออกรูปกาย[a]

หากเรากล่าวว่า: ในฐานะมูลค่า สินค้าเป็นเพียงวุ้นของแรงงานมนุษย์ การวิเคราะห์ของเราลดทอนสินค้าเป็นนามธรรมมูลค่า แต่ไม่ได้ให้รูปมูลค่าที่ต่างไปจากรูปธรรมชาติของตัวเองแก่สินค้า ตรงกันข้าม ในความสัมพันธ์มูลค่าระหว่างสินค้าชิ้นหนึ่งกับชิ้นอื่น ลักษณะมูลค่าของสินค้าโผล่ออกมาผ่านความสัมพันธ์ที่มีกับสินค้าอื่น

การจับเสื้อคลุมในฐานะสิ่งมีมูลค่าเสมอกับผ้าลินินเป็นต้น เป็นการจับแรงงานในอย่างแรกเสมอกับแรงงานในอย่างหลัง จริงที่การตัดเย็บซึ่งผลิตเสื้อคลุมเป็นแรงงานรูปธรรมคนละชนิดกับการถักทอซึ่งผลิตผ้าลินิน แต่การจับให้เสมอกับการถักทอในความเป็นจริงได้ลดทอนการตัดเย็บเหลือเป็นสิ่งที่เสมอกันจริงในแรงงานทั้งสอง คือลักษณะร่วมของการเป็นแรงงานมนุษย์ การทำอ้อมอย่างนี้บอกว่า การถักทอตราบเท่าที่ถักทอมูลค่าก็ปราศจากตำหนิที่แยกมันจากการตัดเย็บ และจึงเป็นแรงงานมนุษย์นามธรรม การแสดงออกว่าสินค้าต่างชนิดเสมอกันเท่านั้นที่เผยลักษณะเฉพาะของแรงงานที่สร้างมูลค่า ด้วยการลดทอนแรงงานต่างชนิดในสินค้าต่างชนิดในความเป็นจริงเป็นสิ่งที่มีร่วมกัน แรงงานมนุษย์ทั่วไป[1]


  1. หมายเหตุในฉบับที่ 2 หนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์คนแรกหลังวิลเลียม เพตตี ที่มองทะลุธรรมชาติของมูลค่าคือแฟรงคลินผู้เรืองนาม เขากล่าวว่า: „เพราะการค้าโดยทั่วไปใช่สิ่งใดแค่การแลกเปลี่ยนแรงงานหนึ่งกับแรงงานอื่น มูลค่าของทุกสิ่งวัดได้เที่ยงที่สุดด้วยแรงงาน“ („The Works of B. Franklin etc., edited by Sparks“) บอสตัน 1836, เล่ม II, หน้า 267.) แฟรงคลินไม่ทันตระหนักว่าเมื่อวัดมูลค่าของสรรพสิ่ง „ด้วยแรงงาน“ แล้ว เขายังได้เพิกจากความแตกต่างระหว่างแรงงานที่แลกเปลี่ยนกัน —— และจึงลดทอนเหลือเป็นแรงงานมนุษย์เสมอกัน แม้ไม่ทันทราบแต่เขาก็กล่าวออกมา แรกพูดถึง „ของแรงงานหนึ่ง“ แล้วจากนั้น „ของแรงงานอื่น“ และลงท้ายด้วย „แรงงาน“ ไม่เสริมคำขยาย โดยเป็นแก่นสารของมูลค่าของทุกสิ่ง

มาคส์, ทุน 1 ฉบับที่ 42


  1. กรดบิวทิริกและโพรพิลฟอร์เมตมีสูตรโมเลกุลเดียวกัน (C4H8O2) แต่มีโครงสร้างโมเลกุลต่างกัน (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)