หน้า:Das Kapital Kritik der politischen Oekonomie Erster Band.djvu/67

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
——27——

ผู้ครอบครองสินค้าเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมที่ครอบงำอยู่เท่านั้น อัจฉริยภาพของอาริสโตเติลเฉิดฉายจากการค้นพบความสัมพันธ์เสมอภาคในการแสดงออกมูลค่าของสินค้านั่นเอง เพียงสันดอนทางประวัติศาสตร์ของสังคมที่เขาอาศัยอยู่ขวางกั้นการเสาะหาว่า „แท้จริง“ ความสัมพันธ์เสมอภาคนี้ประกอบด้วยอะไร

4. องค์รวมของรูปมูลค่าแบบเรียบง่าย

รูปมูลค่าแบบเรียบง่ายของสินค้าอยู่ในความสัมพันธ์มูลค่าที่มีกับสินค้าอีกชนิด หรือในความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกับสินค้าอีกชนิด มูลค่าของสินค้า แสดงออกเชิงคุณภาพผ่านความสามารถแลกเปลี่ยนสินค้า กับสินค้า ได้โดยตรง และแสดงออกเชิงปริมาณผ่านความสามารถแลกเปลี่ยนสินค้า ในปริมาณที่แน่นอนกับสินค้า ได้ปริมาณหนึ่ง กล่าวได้ว่า: มูลค่าของสินค้าแสดงออกโดยอิสระผ่านการแสดงตัวเองเป็น „มูลค่าแลกเปลี่ยน“ เมื่อตอนต้นบท เราพูดในภาษาชาวบ้านว่า: สินค้าเป็นมูลค่าใช้สอยกับมูลค่าแลกเปลี่ยน แต่ถ้าพูดให้เที่ยง ตอนนั้นเราผิด สินค้าเป็นมูลค่าใช้สอยหรือวัตถุใช้สอย กับ „มูลค่า“ สินค้าแสดงตัวเองเป็นทั้งคู่ที่เป็น ทันทีที่มูลค่าของมันมีรูปปรากฏแตกต่างไปจากรูปธรรมชาติของตน นั่นคือมูลค่าแลกเปลี่ยน และไม่มีทางมีรูปนี้หากพิจารณาโดยลำพัง แต่เฉพาะในความสัมพันธ์มูลค่าหรือความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกับสินค้าที่สองอีกชนิดเท่านั้น อย่างไรก็ดีเมื่อทราบแล้ว พูดแบบนั้นก็ไม่เสียหาย ถือว่าเพื่อให้รวบรัด

บทวิเคราะห์ของเราพิสูจน์ว่า รูปมูลค่าหรือการแสดงออกมูลค่าของสินค้าเกิดจากธรรมชาติของมูลค่าสินค้า ไม่ใช่ว่ามูลค่าและขนาดของมูลค่าเกิดจากวิถีการแสดงออกเป็นมูลค่าแลกเปลี่ยน อย่างหลังทว่าเป็นเรื่องเพ้อเจ้อที่ลัทธิพาณิชยนิยมและพวกที่เอามันมาอุ่นซ้ำอย่างแฟรีเย กานีล ฯลฯ[1] กับพวกพ่อค้าเร่ขายการค้าเสรีสมัยใหม่ฝ่ายตรงข้ามอย่างบัสตียาและผองเพื่อนเชื่อ[a] พวกพาณิชยนิยมให้น้ำหนักกับแง่มุมเชิงปริมาณของการแสดงออกมูลค่าเป็นหลัก ฉะนั้นกับรูปสมมูลของสินค้า สำเร็จรูปเป็นเงินตรา —— ในส่วนของพวกหาบเร่แผงลอยการค้าเสรีสมัยใหม่ พวกนี้

  1. หมายเหตุในฉบับที่สอง ฟร็องซัว-หลุยส์-โอกุสต์ แฟรีเย (ผู้ช่วยเจ้าพนักงานศุลกากร): „Du Gouvernement considéré dans ses rapports avec le commerce. Paris 1805“ และชาร์ล กานีล: „Des systèmes de l'Économie Politique. 2ème éd. Paris 1821.“

  1. หมายถึง François-Louis-Auguste Ferrier, Charles Ganilh และ Frédéric Bastiat (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)