หน้า:Karl Marx - Wage Labor and Capital - tr. Harriet E. Lothrop (1902).djvu/17

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
11
บทนำ

ก็แรงงานหนึ่งวัน หนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือน หนึ่งปี หากแรงงานเป็นมาตรวัดมูลค่าทั้งปวง เราจะสามารถแสดงออก “มูลค่าของแรงงาน” เป็นแรงงานได้เท่านั้น แต่เราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมูลค่าของแรงงานหนึ่งชั่วโมงเลย ถ้าเรารู้แค่ว่ามันเท่ากับแรงงานหนึ่งชั่วโมง เหตุฉะนี้ เราไม่ได้ก้าวเข้าใกล้เส้นชัยของเราเลยแม้แต่น้อย ได้แต่วกวนซ้ำซากกับที่

เศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิกจึงพยายามหาทางใหม่ กล่าวว่า: มูลค่าของสินค้าเท่ากับต้นทุนการผลิต แล้วต้นทุนการผลิตของ “แรงงาน” คืออะไร? เพื่อตอบคำถามนี้ นักเศรษฐศาสตร์จำต้องดัดงอตรรกะเล็กน้อย แทนที่จะสืบสวนต้นทุนการผลิตของแรงงานเอง น่าเสียดายที่ไม่สามารถสืบหาได้ พวกเขาหันมาสืบสวนต้นทุนการผลิตของคนงานแทน และอย่างหลังนี้สืบหาได้ โดยเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละยุคสมัยและสถานการณ์ แต่ในสภาพสังคมหนึ่ง ในละแวกหนึ่ง และในสาขาการผลิตหนึ่ง อย่างน้อยมีค่าในระยะที่แคบพอสมควร ปัจจุบันเราอาศัยภายใต้ระบอบการผลิตแบบทุนนิยม และภายใต้ระบอบนี้มีชนชั้นของประชากรขนาดใหญ่ที่เติบโตอย่างคงที่ ผู้มีชีวิตอยู่ได้ต่อเมื่อทำงานให้เจ้าของปัจจัยการผลิต——อุปกรณ์ เครื่องจักร วัตถุดิบ และปัจจัยการยังชีพ——แลกกับค่าจ้าง ต้นทุนการผลิตของกรรมกรบนฐานของวิถีการผลิตรูปแบบนี้ประกอบด้วยผลรวมของปัจจัยการยังชีพ (หรือราคาของมันเป็นตัวเงิน) ซึ่งโดยเฉลี่ยจำเป็นเพื่อให้เขาสามารถทำงาน คงไว้ซึ่งความสามารถทำงานนั้น และเพื่อทดแทนเขาเมื่อลาออก ไม่ว่าด้วยเหตุแห่งอายุ โรค หรือความตาย ด้วยกรรมกรคนใหม่——กล่าวคือ เพื่อแพร่พันธุ์ชนชั้นแรงงานให้คงจำนวนเท่าที่จำเป็น

สมมุติว่าราคาตัวเงินของปัจจัยการยังชีพเหล่านี้เฉลี่ยแล้วเท่ากับ 3 เหรียญต่อวัน กรรมกรคนนี้