หน้า:Karl Marx - Wage Labor and Capital - tr. Harriet E. Lothrop (1902).djvu/18

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
12
บทนำ

จึงจะได้ค่าจ้างรายวัน 3 เหรียญจากนายจ้าง นายทุนให้เขาทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวันเป็นการแลกเปลี่ยน มากไปกว่านั้น นายทุนของเราจะคำนวณตัวเลขประมาณแบบนี้: สมมุติว่ากรรมกรของเรา (เป็นช่างเครื่อง) ต้องสร้างส่วนประกอบชิ้นหนึ่งของเครื่องจักร ซึ่งทำเสร็จภายในหนึ่งวัน วัตถุดิบ (เหล็กและทองเหลืองที่เตรียมให้แล้วตามที่จำเป็น) มีต้นทุน 20 เหรียญ ถ่านหินที่ใช้ในเครื่องจักรไอน้ำ ค่าบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องกลึง และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ทำงานมีค่าเท่ากับ 1 เหรียญสำหรับหนึ่งวันและกรรมกรหนึ่งคน ค่าจ้างหนึ่งวันเท่ากับ 3 ชิลลิงตามสมมุติฐานของเรา ทั้งหมดทั้งมวลชิ้นส่วนของเครื่องจักรชิ้นนี้เท่ากับ 24 เหรียญ

แต่นายทุนคำนวณว่าเขาจะได้เงินจากลูกค้าเฉลี่ยแล้ว 27 เหรียญ มากกว่ารายจ่ายไป 3 เหรียญ

3 เหรียญที่นายทุนเก็บเข้ากระเป๋าตัวเองมาจากไหน? หากอิงตามคำกล่าวอ้างของเศรษฐศาสตร์การเมืองคลาสสิก ในระยะยาวแล้ว สินค้าขายที่มูลค่าของตัวเอง นั่นก็คือ ขายที่ราคาที่สอดคล้องกับปริมาณของแรงงานที่จำเป็นในสินค้า ราคาเฉลี่ยของชิ้นส่วนเครื่องจักรของเรา——27 เหรียญ——จึงเท่ากับมูลค่าของมัน หรือเท่ากับปริมาณของแรงงานที่มีอยู่ข้างในนั่นเอง แต่จากทั้งหมด 27 เหรียญ 21 เหรียญเป็นมูลค่าของสิ่งที่มีอยู่ก่อนช่างเครื่องเริ่มทำงานเสียอีก 20 มาจากวัตถุดิบ 1 มาจากเชื้อเพลิงที่เผาไประหว่างทำงานและค่าเสื่อมประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่เหลืออีก 6 เหรียญเป็นมูลค่าที่เพิ่มให้มูลค่าของวัตถุดิบ แต่ตามสมมุติฐานของนักเศรษฐศาสตร์ของเราแล้ว 6 เหรียญเกิดจากแรงงานที่กรรมกรใส่เข้าไปในวัตถุดิบได้เท่านั้น