หน้า:Karl Marx - Wage Labor and Capital - tr. Harriet E. Lothrop (1902).djvu/47

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
41
ความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานรับจ้างกับทุน

ทุนจะตายหากไม่หาเอาจากพลังแรงงาน จะหาเอาได้ ก็ต้องซื้อมา ยิ่งทุนที่ไว้ผลิต——ทุนการผลิต——มากขึ้นเร็วเท่าใด อุตสาหกรรมจะยิ่งรุ่งเรือง กระฎุมพีจะยิ่งร่ำรวย ธุรกิจจะยิ่งเฟื่องฟู นายทุนจะยิ่งต้องการคนงาน คนงานจะยิ่งขายตนได้แพงขึ้น

การเติบโตของทุนการผลิตอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ จึงเป็นเงื่อนไขที่ขาดไม่ได้ในการที่กรรมกรจะได้มีขีวิตที่ไม่เลว

แต่การเติบโตของทุนการผลิตคืออะไร? คือการเติบโตของอำนาจที่แรงงานสะสมมีเหนือแรงงานมีชีวิต การเติบโตของการปกครองของกระฎุมพีเหนือชนชั้นแรงงาน เมื่อแรงงานรับจ้างผลิตความมั่งคั่งแปลกปลอมที่มาครอบงำมัน อำนาจปรปักษ์ ทุน แล้วปัจจัยการจ้างงาน ก็คือปัจจัยการยังชีพ จะไหลกลับมาหามัน ภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องมาเป็นส่วนหนึ่งของทุนอีกครั้ง ต้องมาเป็นคานงัดกระชากทุนไปสู่การเร่งขยายตัว

เมื่อกล่าวว่าผลประโยชน์ของทุนกับผลประโยชน์ของคนงานเป็นสิ่งเดียวกัน แปลได้แบบเดียว ว่าทุนและแรงงานรับจ้างเป็นสองด้านของความสัมพันธ์อันหนึ่งอันเดียวกัน อันหนึ่งวางเงื่อนไขอีกอันในแบบเดียวกับที่เจ้าหนี้และลูกหนี้วางเงื่อนไขกันและกัน

ตราบใดที่กรรมกรรับจ้างเป็นกรรมกรรับจ้าง พวกเขาก็ต้องพึ่งพาทุน สหคามแห่งผลประโยชน์ระหว่างคนงานกับนายทุนที่คุยโวนั้นก็เพียงเท่านี้เอง

เมื่อทุนเติบโต มวลของแรงงานรับจ้างจะเติบโต จำนวนคนงานรับจ้างจะเพิ่มพูน กล่าวได้ว่า อำนาจของทุนครอบงำเหนือมวลของปัจเจกยิ่งกว่าเดิม

สมมุติในกรณีที่ยินดีที่สุด: