หน้า:Karl Marx - Wage Labor and Capital - tr. Harriet E. Lothrop (1902).djvu/49

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
43
ความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานรับจ้างกับทุน

ในศตวรรษที่ 16 ทองและเงินที่หมุนเวียนในยุโรปเพิ่มขึ้นเนื่องจากการค้นพบเหมืองที่อุดมสมบูรณ์และสะดวกกว่าในอเมริกา มูลค่าของทองและเงินจึงตกลงเทียบกับสินค้าอื่น ๆ คนงานได้เหรียญเงินจำนวนเท่าเดิมสำหรับพลังแรงงานของเขา งานมีราคาเงินตราเท่าเดิม แต่ค่าจ้างกลับลดลง เพราะเหรียญเงินจำนวนเท่ากันนั้นแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นได้น้อยกว่าเดิม นี่เป็นหนึ่งในพฤติการณ์ซึ่งผลักดันการเติบโตของทุนและชนชั้นกระฎุมพีในศตวรรษที่ 18

อีกกรณี ในฤดูหนาวปี 1847 เพราะผลเก็บเกี่ยวย่ำแย่ ปัจจัยดำรงชีพที่ขาดไม่ได้เด็ดขาด——ธัญพืช เนื้อ เนย ชีส ฯลฯ——ราคาสูงขึ้นมาก หากเราสมมุติว่าคนงานยังได้เงินจำนวนเท่าเดิมแลกกับพลังแรงงานของเขา อย่างนี้ค่าจ้างเขาไม่ลดลงหรือ? เพื่อให้แน่ใจ เงินเท่าเดิมที่ได้มาแลกกับขนมปัง เนื้อ ฯลฯ ได้น้อยลง ค่าจ้างลดลง ใช่เพราะมูลค่าของแร่เงินต่ำลง แต่เพราะมูลค่าของปัจจัยดำรงชีพนั้นสูงขึ้น

สุดท้าย สมมุติว่าราคาเงินตราของพลังแรงงานเท่าเดิม ในขณะที่ราคาสินค้าการเกษตรและประดิษฐกรรมต่ำลง เพราะใช้เครื่องจักรชนิดใหม่ เพราะฤดูกาลเป็นใจ ฯลฯ คนงานใช้เงินเท่าเดิมซื้อสรรพสินค้าได้เยอะขึ้น ค่าจ้างเขาจึงเพิ่มขึ้น แค่เพราะราคาเงินตราของมันไม่เปลี่ยนไป

ราคาเงินตราของพลังแรงงาน ค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน จึงไม่ได้สอดคล้องกับค่าจ้างตามที่เป็นจริง กล่าวคือ ปริมาณของสินค้าที่นำค่าจ้างมาแลกเปลี่ยนได้ ถ้าพูดถึงการขึ้นลงของค่าจ้างแล้ว