หน้า:Karl Marx - Wage Labor and Capital - tr. Harriet E. Lothrop (1902).djvu/52

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
46
แรงงานรับจ้างและทุน

ค่าจ้างจริงอาจจะเท่าเดิม หรืออาจสูงขึ้น อย่างไรก็ดีค่าจ้างสัมพัทธ์ก็อาจลดลง ยกตัวอย่าง สมมุติว่าปัจจัยการยังชีพทั้งหมดราคาลงมาสองในสาม ส่วนค่าจ้างรายวันลดลงมาหนึ่งในสาม อาทิจากสามเป็นสองเหรียญ แม้คนงานจะได้สินค้าในปริมาณมากกว่าด้วยสองเหรียญจากแต่เดิมสามเหรียญ แต่ค่าจ้างก็ลดลงเทียบสัดส่วนกับรายได้ของนายทุน กำไรของนายทุน——นักอุตสาหกรรมเป็นต้น——ก็เพิ่มขึ้นหนึ่งเหรียญ หมายความว่าเมื่อเขาจ่ายคนงานด้วยมูลค่าแลกเปลี่ยนน้อยกว่า คนงานกลับต้องผลิตมูลค่าแลกเปลี่ยนที่มากขึ้นกว่าก่อน ส่วนแบ่งของทุนเทียบกับส่วนแบ่งของแรงงานมีสัดส่วนสูงขึ้น การกระจายความมั่งคั่งทางสังคมระหว่างทุนกับแรงงานเหลื่อมล้ำยิ่งขึ้น นายทุนบัญชาแรงงานปริมาณมากขึ้นด้วยทุนเท่าเดิม อำนาจของชนชั้นนายทุนเหนือชนชั้นแรงงานเติบโตขึ้น สถานภาพทางสังคมของคนงานแย่ลง และถูกกดลงต่ำใต้นายทุนไปอีกขั้น

เช่นนั้น อะไรคือกฎทั่วไปซึ่งกำหนดการขึ้นลงของค่าจ้างและกำไร ในความสัมพันธ์ที่มีซึ่งกันและกัน?

ทั้งสองมีสัดส่วนผกผันกัน ส่วนแบ่งของทุน (กำไร) สูงขึ้นในสัดส่วนเดียวกันซึ่งส่วนแบ่งของแรงงาน (ค่าจ้าง) ต่ำลง เช่นกันในทางกลับกัน กำไรสูงขึ้นในระดับเดียวกันที่ค่าจ้างลดลง และลดลงในระดับเดียวกันที่ค่าจ้างสูงขึ้น

อาจอ้างได้ว่านายทุนสามารถได้กำไรจากการแลกเปลี่ยนสินค้าของเขากับนายทุนคนอื่นอย่างได้เปรียบ ด้วยอุปสงค์ของสินค้าเขาที่สูงขึ้น ไม่ว่าเพราะตลาดเปิดใหม่ หรือเพราะอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นเฉพาะกาลในตลาดเก่า ฯลฯ ว่ากำไรของนายทุน