หน้า:Karl Marx - Wage Labor and Capital - tr. Harriet E. Lothrop (1902).djvu/57

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
51
ทุนปะทะแรงงาน

เราจึงต้องพิจารณาคำถามดังต่อไปนี้อย่างละเอียด:——

การเติบโตของทุนการผลิตส่งผลต่อค่าจ้างในรูปแบบใด?

หากโดยรวมแล้ว ทุนการผลิตของสังคมกระฎุมพีเติบโต จะเกิดการสะสมแรงงานในหลากหลายด้าน ทุนปัจเจกเพิ่มทั้งในแง่จำนวนและขนาด การทวีคูณทุนปัจเจกเพิ่มการแข่งขันระหว่างนายทุน การเพิ่มขนาดของทุนปัจเจกมอบปัจจัยให้บัญชากองทัพของคนงานที่ทรงพลังยิ่งขึ้นด้วยยุทโธปกรณ์ทำสงครามอันมหึมายิ่งกว่าบนสมรภูมิอุตสาหกรรม

นายทุนผู้หนึ่งสามารถขับผู้อื่นออกจากสนามรบและชิงทุนไปได้เพียงด้วยการขายให้ถูกกว่า เพื่อขายให้ถูกกว่าโดยไม่ทำลายตัวเอง เขาต้องผลิตให้ถูกกว่า คือเพิ่มพลังการผลิตของแรงงานให้มากเท่าที่จะทำได้ แต่พลังการผลิตของแรงงานนั้นเพิ่มขึ้นเหนือสิ่งอื่นใดด้วยการแบ่งงานในระดับที่สูงขึ้น และด้วยการพัฒนาเครื่องจักรกลอย่างต่อเนื่องแล้วนำมาใช้โดยทั่วไป ยิ่งทัพคนงานที่งานแบ่งยิบย่อยมีขนาดใหญ่เท่าใด ยิ่งเครื่องจักรกลนำมาใช้ในระดับใหญ่เท่าใด ยิ่งสัดส่วนของต้นทุนการผลิตลดลงเท่าใด แรงงานยิ่งออกดอกออกผล เช่นนั้นเอง ท่ามกลางเหล่านายทุน การชิงดีชิงเด่นโดยถ้วนหน้าก็บังเกิด เพื่อที่จะเพิ่มการแบ่งงานและเครื่องจักรกล เพื่อที่จะแสวงหาเอาจากมันในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะสามารถ บัดนี้ เมื่อนายทุนค้นพบหนทางผลิตผลผลิตหรือสินค้าได้ปริมาณมากกว่าคู่แข่งด้วยแรงงานเท่าเดิม (ไม่ว่าแรงงานโดยตรงหรือสะสม) ด้วยการแบ่งงานมากขึ้น ด้วยการพัฒนาและใช้เครื่องจักรใหม่ ๆ ด้วยการใช้ประโยชน์จากพลังของธรรมชาติอย่างได้เปรียบกว่าในระดับที่สูงขึ้น