หน้า:Karl Marx - Wage Labor and Capital - tr. Harriet E. Lothrop (1902).djvu/62

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
56
แรงงานรับจ้างและทุน

พาการแบ่งงานที่ยิบย่อยกว่าเดิม การพัฒนาเครื่องจักรเก่าให้ดีกว่าเดิม และการนำเครื่องจักรใหม่มาใช้เสมอมากับมัน——กระบวนการซึ่งดำเนินไปไม่ขาดสาย อย่างกระวีกระวาด และมหึมากว่าเดิม

แต่เงื่อนไขเหล่านี้ ที่แยกจากการเติบโตของทุนการผลิตไม่ได้ ส่งผลอะไรต่อการกำหนดค่าจ้าง?

การแบ่งงานมากขึ้นทำให้กรรมกรคนเดียวสามารถทำงานของกรรมกรห้า สิบ หรือยี่สิบคนได้ จึงเพิ่มการแข่งขันระหว่างกรรมกรไปห้า สิบ หรือยี่สิบเท่า กรรมกรนอกจากต้องแข่งขันด้วยการขายตนให้ถูกกว่าคนอื่นเท่านั้น แต่ยังต้องทำงานของห้าคน สิบคน หรือยี่สิบคน การแบ่งงานทำให้เขาต้องแข่งขันแบบนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุนนำมาใช้และพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ แรงงานจะเรียบง่ายลงในระดับเดียวกับที่การแบ่งงานเพิ่มขึ้น ทักษะพิเศษของกรรมกรหมดค่า เขากลายร่างเป็นพลังการผลิตที่ง่ายและจำเจ ไร้ความยืดหยุ่นทางกายและใจ งานเขาทุกคนเข้าถึงได้ คู่แข่งจึงเบียดเข้ามาจากรอบด้าน เรายังต้องระลึกว่ายิ่งงานง่ายเท่าใด ยิ่งเรียนรู้ง่ายเท่าใด ต้นทุนการผลิตของมัน ค่าใช้จ่ายการศึกษา ค่าจ้างดังนั้นก็จะยิ่งน้อยลง——เพราะไม่ต่างจากราคาของสินค้าอื่นใด ต้นทุนการผลิตเป็นตัวกำหนด เหตุฉะนี้ แรงงาน ยิ่งไม่พึงประสงค์ ยิ่งน่าขยะแขยงเท่าใด การแข่งขันยิ่งเพิ่มขึ้น และค่าจ้างยิ่งต่ำลงเท่านั้น กรรมกรพยายามคงค่าจ้างทั้งหมด ด้วยการทำงานมากขึ้น ไม่ว่าจะทำชั่วโมงเยอะขึ้น หรือจะทำให้เยอะขึ้นในชั่วโมงเท่าเดิม