หน้า:Karl Marx - Wage Labor and Capital - tr. Harriet E. Lothrop (1902).djvu/63

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
57
ผลของการแข่งขันของนายทุน

ความต้องการเร่งเร้าเขา เช่นนี้เขาเองทวีคูณความวินาศสันตะโรจากการแบ่งงาน ผลคือ: ยิ่งทำงาน ค่าจ้างยิ่งน้อยลง ด้วยเหตุผลง่าย ๆ : ยิ่งทำงาน ยิ่งต้องแข่งขันกับสหายคนงาน ยิ่งบังคับให้พวกเขาต้องแข่งกับเขาเอง และเสนอขายพวกตนด้วยเงื่อนไขที่น่าเวทนาไม่แพ้ไปกว่าเขา จนในตอนสุดท้ายวิเคราะห์ได้ว่า เขาแข่งขันกับตัวเขาในฐานะสมาชิกของชนชั้นแรงงาน

เครื่องจักรกลส่งผลเดียวกัน แต่ในระดับใหญ่กว่า มันแทนที่กรรมกรทักษะด้วยกรรมกรไร้ทักษะ ชายด้วยหญิง ผู้ใหญ่ด้วยเด็ก แห่งใดนำมาใช้ คนงานจำนวนมากจะถูกทิ้งลงบนพื้นถนน และยิ่งพัฒนาชั้นสูง ยิ่งผลิตภาพสูง ก็จะทิ้งเพิ่มแม้จะน้อยลงไป

เราได้ร่างเค้าโครงกว้าง ๆ อย่างไว ๆ ของสงครามอุตสาหการในหมู่นายทุน สงครามนี้ประหลาดตรงที่แต่ละยุทธการนั้นเอาชนะกันด้วยการปลดมากกว่าการเกณฑ์กองทัพคนงาน แม่ทัพ (นายทุน) ประชันกันว่าใครจะปลดนายทหารอุตสาหการได้เยอะกว่ากัน

อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์บอกเราว่ากรรมกรที่ไม่จำเป็นแล้วเพราะเครื่องจักรกลจะหางานในภาคส่วนใหม่ได้ แต่ไม่กล้าพูดตรง ๆ ว่ากรรมกรคนเดียวกันที่โดนลอยแพจะไปเจอกับสถานการณ์เดียวกันในสายงานใหม่ ความจริงเสียงดังกลบคำโกหกเขา กล่าวให้รัดกุม เขาบอกว่าจะมีงานใหม่ให้ส่วนอื่นของชนชั้นแรงงานเท่านั้น อาทิส่วนของกรรมกรคนรุ่นใหม่ ที่กำลังจะเข้าทำงานในอุตสาหกรรมสาขาที่เพิ่งถูกยุบไปพอดี แน่นอนว่ากรรมกรผู้เสื่อมเสียจะพอใจอย่างยิ่ง ท่านสุภาพบุรุษนายทุนจะไม่มีวันขาดเลือดเนื้อสดใหม่ไว้ใช้งาน