หน้า:Karl Marx - Wage Labor and Capital - tr. Harriet E. Lothrop (1902).djvu/70

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
4
บทนำ

บังคับย่นเวลาเปลี่ยนผ่านวิถีการผลิตจากยุคโบราณเป็นยุคสมัยใหม่” การคุ้มกันตอนกำเนิดในศตวรรษที่สิบเจ็ดเป็นเช่นนี้ จนจะค่อนศตวรรษที่สิบเก้าก็ยังคงเป็นเช่นเดิม เวลานั้นประเทศศิวิไลซ์ในยุโรปตะวันตกแห่งใดล้วนถือเป็นนโยบายปกติ มียกเว้นแต่เพียงรัฐจิ๋วต่าง ๆ ในเยอรมนีกับสวิตเซอร์แลนด์——ไม่ใช่ว่าไม่ชอบระบบนี้ แต่เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะบังคับใช้กับอาณาเขตขนาดย่อมขนาดนั้น

ภายใต้อ้อมปีกของการคุ้มกัน ระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่——การผลิตด้วยเครื่องจักรไอน้ำ——ฟักออกมาและพัฒนาขึ้นที่อังกฤษในช่วงหนึ่งในสามท้ายศตวรรษที่สิบแปด และหากกำแพงภาษียังไม่พอ สงครามต่อต้านการปฏิวัติฝรั่งเศสก็ช่วยกระชับการผูกขาดกระบวนการอุตสาหกรรมแบบใหม่ของประเทศอังกฤษ เรือรบอังกฤษกีดขวางคู่แข่งทางอุตสาหกรรมจากตลาดอาณานิคมของพวกเขานานกว่ายี่สิบปี ในขณะเดียวกันก็บังคับให้เปิดตลาดค้าขายกับอังกฤษ การแบ่งแยกอาณานิคมอเมริกาใต้จากการปกครองของประเทศแม่ในยุโรป การยึดครองอาณานิคมของฝรั่งเศสและดัตช์ทุกแห่งที่อังกฤษคุ้มจะมี การทยอยกำราบอินเดีย ได้แปลงร่างผู้คนในดินแดนไพศาลเป็นลูกค้าซื้อสินค้าอังกฤษไปเสียหมด ประเทศอังกฤษเสริมมาตรการคุ้มกันบ้านด้วยการค้าเสรีที่ยัดเยียดใส่ผู้มีศักยภาพเป็นลูกค้าในต่างประเทศ และเป็นบุญคุณของทั้งสองระบบที่ผสมกันอย่างสำราญ ที่เมื่อสิ้นสุดสงครามในปี 1815 ก็พบว่าในอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ทุกสาขา ตนได้การผูกขาดการค้าโลกโดยแท้จริงมาอยู่ในครอบครอง

การผูกขาดยิ่งขยายตัวและแข็งแรงขึ้นในปีสันติถัดจากนั้น จุดเริ่มต้นที่อังกฤษได้มาในช่วงสงคราม เพิ่มขึ้น