หน้า:Karl Marx - Wage Labor and Capital - tr. Harriet E. Lothrop (1902).djvu/72

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
6
บทนำ

จำยอม อากรข้าวและวัตถุดิบอื่น ๆ เลิกแล้ว การค้าเสรีกลายเป็นคำขวัญประจำวัน การเปลี่ยนใจประเทศอื่นให้เลื่อมใสในข่าวประเสริฐของการค้าเสรีจนหมด แล้วสร้างโลกที่อังกฤษเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอันยิ่งใหญ๋ และประเทศอื่นทั้งหมดกลายเป็นเขตทำเกษตรในภาวะพึ่งพิง เป็นภารกิจถัดไปของนักอุตสาหกรรมอังกฤษและกระบอกเสียงของเขา นักเศรษฐศาสตร์การเมือง

นั่นคือตอนงานประชุมที่บรัสเซลส์ ตอนที่มาคส์เตรียมคำปราศัยในเรื่องดังกล่าว มาคส์ยอมรับว่าการคุ้มกันอาจยังเป็นคุณแก่นายทุนอุตสาหกรรมในบางสถานการณ์ เช่นเยอรมนีในปี 1847 และพิสูจน์ว่าการค้าเสรีมิใช่ยาครอบจักรวาลที่ปัดเป่าความชั่วร้ายซึ่งชนชั้นแรงงานต้องประสบไปได้หมด แต่อาจทำให้กำเริบเสียอีก แต่สุดท้าย มาคส์ตัดสิน โดยยึดหลักการ สนับสนุนการค้าเสรี สำหรับเขาแล้ว การค้าเสรีเป็นเงื่อนไขปกติของการผลิตแบบทุนนิยมสมัยใหม่ พลังการผลิตของไอน้ำ ไฟฟ้า เครื่องจักรกลจะพัฒนาถึงขีดสุดได้ภายใต้การค้าเสรีเท่านั้น และพัฒนาการยิ่งเร็วเท่าใด ผลลัพธ์ที่เลี่ยงไม่ได้จะยิ่งปรากฎออกมาอย่างเต็มที่ในไม่ช้า สังคมจะแบ่งออกเป็นสองชนชั้น นายทุนฝั่งนี้ แรงงานรับจ้างฝั่งนั้น ความรวยตกทอดฝั่งนี้ ความจนตกทอดฝั่งนั้น อุปทานล้ำหน้าอุปสงค์ ตลาดที่ไม่สามารถดูดซับมวลการผลิตอุตสาหกรรมที่เติบโตไม่หยุด วัฎจักรแห่งความรุ่งโรจน์ ละโมบ วิกฤต ตระหนก ตกต่ำเรื้อรังซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่จบไม่สิ้น และการทยอยฟื้นฟูการค้าขาย ใช่เป็นลางของการปรับปรุงถาวร แต่ของการผลิตล้นเกินและวิกฤตการณ์ครั้งใหม่ กล่าวโดยย่อว่า พลังการผลิตขยายตัวถึงจุดที่ก่อกบฏต่อต้านสถาบันทางสังคมที่ขับเคลื่อนมัน เหมือนโซ่ตรวนที่เหลือทน มีเป็นไปได้ทางออกเดียวเท่านั้น: การปฏิวัติสังคม