หน้า:Karl Marx - Wage Labor and Capital - tr. Harriet E. Lothrop (1902).djvu/82

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
16
บทนำ

เยอรมันหันหน้าหาการคุ้มครอง ในช่วงเวลาที่จำเป็นต้องมีการค้าเสรียิ่งกว่าตอนไหน แน่ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สมเหตุสมผลเลย แต่อธิบายได้ ในตอนที่เยอรมนีเป็นประเทศส่งออกธัญพืช กลุ่มผลประโยชน์การเกษตรสนับสนุนการค้าเสรีมากไม่แพ้ไปกว่าอุตสาหกรรมขนส่งทางเรือ แต่ในปี 1874 แทนที่จะส่งออก เยอรมนีต้องการธัญพืชราคาถูกจำนวนมากจากต่างประเทศ ในเวลาเดียวกัน อเมริกาเริ่มตีตลาดยุโรปด้วยธัญพืชราคาถูกปริมาณมหาศาล ไปที่ไหน รายได้ตอบแทนจากที่ดินยิ่งต่ำลง ค่าเช่าก็เช่นกัน นับแต่ตอนนั้น กลุ่มผลประโยชน์การเกษตรทั่วทั้งยุโรปเริ่มเรียกร้องมาตรการคุ้มครอง พร้อมกันนั้น อุตสาหกรรมเยอรมันกำลังประสบผลกระทบของการค้าเกินกำลังอันเนื่องจากค่าปฏิกรรมสงครามหลายพันล้านที่ฝรั่งเศสจ่าย และการค้าอังกฤษ ตั้งแต่วิกฤตการณ์ในปี 1866 อยู่ในภาวะตกต่ำเรื้อรัง และส่งสินค้าที่ขายไม่ออกในประเทศไปขายที่ต่างประเทศในราคาถูกย่อยยับ ล้นทุกตลาดที่เข้าถึง อุตสาหกรรมเยอรมันที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักก็เริ่มมองการคุ้มครองเป็นวิธีรับรองการผูกขาดตลาดในประเทศ แล้วรัฐบาลใต้อุ้งมือขุนนางเจ้าของที่ดินก็ดีใจที่จะทำกำไรจากสถานการณ์นี้ เพื่อเอื้อผู้รับประโยชน์จากค่าเช่าที่ดิน ด้วยการกำหนดการคุ้มครองทางภาษีให้ทั้งเจ้าที่ดินและนักอุตสาหกรรม ในปี 1878 มีการประกาศใช้การคุ้มครองทางภาษีอัตราที่สูงกับผลผลิตทางการเกษตรและสินค้าประดิษฐกรรม

ผลที่ตามมาคือ ผู้บริโภคในประเทศกลายเป็นคนควักเงินอุ้มการส่งออกของอุตสาหกรรมเยอรมัน เมื่อใดที่ทำได้ ก็รวมหัวกันควบคุมการค้าส่งออก