ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Kotmai Mueang Thai 1882 vol 1.pdf/13

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
12
พระธรรมสาตร

คดีซึ่งตระลาการพิจารณาโดยยุติธรรมนั้นเปนแว่นแก้ว แล้วเอาพระคำภีรพระธรรมสาตรเปนพระเนตร ดูเทศกาลบ้านเมืองโดยสมควรแล้ว จึ่งเอาพระกรเบื้องขวา คือ พระสติสัมปะชัญะ ทรงพระขรรคแก้ว คือ พระวิจารณะปัญญา วินิจไฉยตัดข้อคดีอาณาประชาราษฎรทั้งปวงโดยยุติธรรม ๚ะ

กล่าวพระราชพงษาวดารสมเด็จพระเจ้ามหาสมมุติราชแลอุบัติเหตุแห่งคำภีรพระธรรมสาตรโดยสังเขปก็ยุติแต่เท่านี้ ๚ะ

แต่นี้จะกล่าวลักษณผู้จะเปนตระลาการโดยบาฬีคำภีรพระธรรมสาตรว่า

ฉันทาโทษาภะยาโมหา โยธัมมังอติวัตะติ นิหิยะติตัสสะยะโส กาฬะปักเขวะจันทิมา ฉันทโทสาภะยาโหมา โยธัมมังนาติวัตะติ อะภิวัฒนะติตัสสะยะโส สุกกะปักเขวะจันทิมาติ แปลเนื้อความว่า โยบุคคะโล อันว่าบุทคลผู้ใดเปนตระลาการ อะติวัตะติ ล่วงเสีย ธัมมัง ซึ่งยุติธรรม ฉันทาโทสา ภะยาโมหา ด้วยอะคติ ๔ ประการ คือ รักษแลโกรธแลกลัวแลหลง แล้วพิจารณาความผิดจากพระธรรมสาตร แลลำเอียงเข้าด้วยฝ่ายโจทยฝ่ายจำเลย อันว่ากียรติยศแลโภคศิริสวัสดิแห่งตระลาการนั้นก็จะถอยเสื่อมสูญไป ประดุจพระจันทรในวันกาฬปักข จะถึงซึ่งเดือดร้อนเปนอันมาก โยบุคโล อันว่าบุทคลผู้ใดผู้เปนตระลาการ นานิวัตะติ บมิได้ล่วงเสีย ธัมมัง ซึ่งยุติธรรมด้วยอะคติ ๔ ประการดังกล่าวแล้ว แลประกอบด้วยศีลสัจ แลพิจารณาข้อคดีแห่งราษฎรทั้งปวงถูกต้องตามพระธรรมสาตรกล่าวไว้นั้น อันว่าเกียรดิยศแลโภคศิริสวัสดิมงคลแห่งตระลาการผู้นั้นก็จะจำเริญขึ้นทุกวัน ดุจพระจันทรในวันศุกปักข ๚ะ

อธิบายว่า เมื่อคู่ความทั้งสองข้างมาถึงแล้ว อย่าให้พิจารณาบังคับบัญชาข้อคดีโดยริศยาอาสัจ ให้มีเมตาแก่คู่ความทั้งสองข้างด้วยจิตรอันเสมอ ให้คดีนั้นเปนกิจธุระกังวลแห่งตน ถ้าตระลาการผู้ใดให้กำลังแก่คู่ความผู้เท็จกินสีนจ้าง มิได้บังคับบัญชาโดยพระธรรมสาตร