หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๓๒
ภญาน
อนึ่ง ให้ผู้พิภากษาสุภากระลาการเลงดูคำพญาณนั้นโดยระบุะสำนวน ควรที่จะฟัง ก็ให้ฟัง มิควรที่จะฟัง อย่าให้ฟัง ให้ฟังเอาคำพญาณแต่ที่อันจริง ได้เนื้อความประการใด จึ่งให้เลงดูคำสักขิพญาณ แลให้ผู้พิภากษาตั้งสติปัญาผูกพันทในอารมณ พิจารณาดูโทษอันใหญ่ น้อย อันมีภาย[1] ในภายนอกสรรพการแห่งอาตมาภาพให้แจ้งในปัญาก่อน แล้วจึ่งให้ตั้งใจปลงฟังคำพญาณจงหนัก อย่าให้ลุะอำนาทแก่ใจอันเปนบาป แลพิภากษาว่ากล่าวประกอบด้วยปัญาจงเลอียด อย่าให้เลาะและปากเบา จึ่งจะสมเปนใหญ่ในที่พิภากษาปรับคดีทั้งปวง แม้นจะว่ากล่าวพิภากษาเนื้อความคดีทังปวงนั้น ให้เลงดูในคำพญาณแลทางความให้เหนแน่ใจในคนเดียวก่อน ถ้าได้พิภากษาว่ากล่าวออกไปแล้วมีผู้เหนคดีนั้นบมิควรแลจะทักท้วงควรให้ฤ้ๅพิภากษาพิจารณาไปจงได้จริง อย่าลุะอำนาทมัวเมาถือทฤฐิมานะจะได้อัปราไชยแก่ผู้มีปัญาเปนอัน[2] เที่ยงแท้ ผู้พิภากษาสุภากระลาการจงรู้ในลักษณพญาณทัง ๕ ประการนี้ ก็ย่อมจะเปนที่สรรเสริญแก่บุทคลทังปวง แลพญาณ ๕ ประการนั้น คือ ราชสกูลประการ ๑ พราหมณสกูลประการ ๑ แพทยสกูลประการ ๑ สูทธสกูลประการ ๑ หินะสกูลประการ ๑ อันว่าพินิจพิดเคราะหสกูลแห่งพญาณท่านกล่าวไว้ดั่งนี้ |
ม.ธ.ก.